"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
พฤติกรรมบำบัดเลิกเหล้า

ในช่วงเข้าพรรษา ช่วงนี้เราจะเห็นคำขวัญที่จูงใจให้ประชาชนอดเหล้า แม้จะเป็นเพียง 3 เดือน ก็นับว่าดีกว่าไม่อดเลย แต่เราน่าจะหาทางรณรงค์ให้ช่วยกันละเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ มิฉะนั้นเขาก็จะวนเวียนจากเหล้าไปสู่เบียร์ จากเบียร์ไปดื่มไวน์ หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ไปเลย

ด้านการออกกำลังกาย ให้ทำเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3 วัน จะเดิน วิ่ง ขี่จักรยาน แอโรบิก ตามความเหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกาย

ด้านอารมณ์ ให้ลดความเครียด มองโลกในแง่ดี ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นที่มองว่าไม่ถูกใจ ถ้ามองอีกด้านหนึ่งจะพบแง่ดี เช่น การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ทำให้เกิดการยั้งคิดให้หันมาดูแลร่างกาย

ด้านการขับถ่าย ต้องมีการขับถ่ายอุจจาระได้เป็นประจำ การปล่อยให้ท้องผูกนาน จะยิ่งทำให้ขับถ่ายยากขึ้นทุกที ควรได้อาหารที่มีเส้นใยมากพอ จากผักและผลไม้ ดีกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์มากไป

อากาศบริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงมลพิษจากสิ่งแวดล้อม จัดการกับข้าวของรกรุงรังในบริเวณบ้าน ป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น ยุง หนู โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาชีพต้องย่ำน้ำในเรือกสวนไร่นา จะติดโรคฉี่หนูซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันได้ ส่วนยุงทำให้เกิดไข้เลือดออก และมาลาเรีย ตายได้ทั้งคู่

กลับมาที่สิ่งเสพติดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ แอลกอฮอล์ เพราะว่าถ้าจะรอรักษาคนที่ติดแอลกอฮอล์ในระยะเฉียบพลัน จะมีโรคเป็นจำนวนมาก เช่น ปวดท้องจากกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นแผล ตับอ่อนอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นซ้ำหลายครั้งจะทำให้มีโอกาสเป็นเบาหวานตามมา ตับแข็งคือ ตับมีพังผืดเข้าไปแทรกแทนเนื้อที่ดี มีผลทำให้ความดันในหลอดเลือดดำในตับ มีระดับสูง มีผลกระทบให้เกิดเลือดขอดรอบๆ หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาเจียนเป็นเลือด

โรคตับแข็ง อาจนำไปสู่การติดเชื้อง่าย ถ้าตับทำงานไม่ได้จะเกิดสารแอมโมเนียคั่งค้าง ทำให้สมองสับสน บางคนจากตับวายก็ทำให้เกิดไตวายได้

การดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้สมรรถภาพในการขับขี่ยวดยานพาหนะเป็นไปได้ไม่ดี ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมามากมายแล้ว

ในการบำบัดโรคพิษสุราเรื้อรังนั้น แพทย์ผู้รักษาโรคเฉียบพลันที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลาในการดูแลรักษา อาจไม่มีเวลาพอในการปรับพฤติกรรมต่อเนื่อง ต้องอาศัยทีมงานเสริม เช่น จิตแพทย์ และกลุ่มงานที่ทำกลุ่มบำบัด ซึ่งจะไม่ใช่แต่เพียงสอนให้รู้ ขู่ให้กลัว แต่จะมีกระบวนการสร้างแรงจูงใจเป็นขั้นตอน แรงจูงใจนี่สามารถจะแสวงหาเพิ่มเติม หรือช่วยให้ผู้ป่วยสร้างขึ้นมาได้ ไม่ใช่จะรอให้เขาสร้างเอง บางคนสร้างเองได้ก็ดี



โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 20 ก.ค. 2554 : 08:43:14  

ความเห็นที่ 1
แต่ส่วนใหญ่ต้องอาศัยพฤติกรรมบำบัด ซึ่งขั้นตอนจะเป็นดังนี้

ขั้นแรก คนไข้จะไม่รู้สึกว่าตนจะต้องปรับเปลี่ยน ไม่สนใจว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยรักษาโรค ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องให้ความรู้ว่ามีการผิดปกติในร่างกายแล้ว โดยใช้วิธีการที่นุ่มนวล และเป็นพวกเดียวกัน ไม่ใช่แยกตัวว่าเป็นหมอกับคนไข้ แสดงความห่วงใย และดูท่าทีว่าคนไข้จะตอบสนองอย่างไร สนใจจะเปลี่ยนไหม

ขั้นสอง ช่วยอธิบายว่าผู้ที่จะเปลี่ยนต้อง ตั้งต้นที่ตนเอง แต่ทีมงานจะบอกประโยชน์ของการเลิกดื่ม เช่น ทำให้ไม่เสียการงาน เป็นที่ยอมรับในหมู่คณะ ถ้าเขาพร้อมเราจะสอนวิธีการเตรียมให้

ขั้นสาม แนะนำเพิ่มเติมว่าเขาควรจะลดการดื่มใน ช่วงอันตราย เช่น ก่อนขับรถ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หรือลดปริมาณลงเพื่อป้องกันตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเขาเคยเป็นบ่อยๆ

ขั้นสี่ เสนอวิธีการ เช่น ลดปริมาณลงครั้งละเล็กละน้อย ดื่มให้ห่างออกไป เว้นในช่วงเช้า กลางวัน เป็นต้น ให้ลองเล่าสถานการณ์ที่กระตุ้นความอยาก แล้วพยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้นหรือหาสิ่งที่น่าสนใจมาให้ทำ

ขั้นห้า ให้ความเห็นใจ เข้าใจ และยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก ไม่ตำหนิ ให้กำลังใจ ชมเชยบ้าง ถ้าเขาทำดีขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย ถ้ามีสิ่งที่เห็นชัด เช่น ลดปริมาณลง ความถี่ลดลง ต้องแสดงความดีใจด้วย

ขั้นหก เสริมความมั่นใจ ให้ทำดีต่อไปให้ยั่งยืน และไม่ท้อถอย สิ่งเหล่านี้ใช้เวลานาน บางรายต้องพบทีมงานเป็นปีต่อเนื่องกัน

ทั้งหมดนี้ให้ครอบครัวร่วมรับรู้ และสนับสนุนไปด้วยกัน แม้ว่าจะต้องเสียเวลา แต่ผลลัพธ์เกินคุ้มค่ะ

โดย oOfonOo [ 20 ก.ค. 2554 : 08:43:25 ]

Member
205 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป