"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
โรคกรดไหลย้อน

"โรคกรดไหลย้อน" เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนน้อยอาจเป็นน้ำดี และน้ำย่อย ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างจากลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบจากการส่องกล้องตรวจก็ได้

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

ตามปกติในการทานอาหาร น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารมีขบวนการป้องกันไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร แต่จะมีหลายภาวะที่ทำให้ขบวนการป้องกันนี้เสียหายไป ทำให้เกิดการไหลย้อนกลับได้ โดยน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีความเป็นกรดหรือด่าง ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร

สาเหตุที่ทำให้ขบวนการนี้เสียหายไป มีได้หลายประการด้วยกัน แต่ที่สำคัญคือการที่รอยต่อระหว่างกระเพาะ และหลอดอาหารไม่สามารถป้องกันการไหลย้อนได้ แต่ต้นเหตุที่แท้จริง ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน แต่สามารถพบได้ในหลายสภาวะ เช่น การที่มีส่วนต่อระหว่างของกระเพาะกับหลอดอาหารที่ควรจะอยู่ในช่องท้อง ไปอยู่ในช่องอก (Hiatal hernia) ไม่ใช่แค่วัยทำงาน ก็มีความเสี่ยงกับโรคนี้

โรคนี้พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ กำลังตั้งครรภ์ เป็นโรคผิวหนังแข็ง (scleroderma) โรคเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุที่เสริมปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน ส่วนในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่วัยทารกจนถึงเด็กโต ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังจากดูดนมโลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับได้

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

แบบแรก: จะเป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของหลอดอาหารโดยตรง ซึ่งจะแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ ซึ่งจะเป็นมากขึ้นภายหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก หรือการนอนหงาย นอกจากนี้ยังมีอาการเรอเปรี้ยว นั่นเพราะมีกรดซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขม ไหลย้อนขึ้นมาในปาก โดยคนไข้อาจมีทั้ง 2 อาการหรืออาการใดอาการหนึ่งก็ได้

แบบที่สอง: จะเกิดจากการที่มีการไหลย้อน โดยที่จะมีการอักเสบของหลอดอาหารร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยบขางคนจะจุกแน่นยอดอก จากการเกร็งตัวของหลอดอาหารทำให้เกิดอาการเหมือนคนเป็นโรคหัวใจ ขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน บางคนจะมีอาการกล่องเสียงอักเสบ ทำให้มีอาการเสียงแหบ มีเสมหะมากในเวลาตื่นนอน หรือเป็นมากจนเป็นโรคทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง จนเป็นโรคหอบหืด



โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 13 ก.ค. 2554 : 08:52:05  

ความเห็นที่ 1
การรักษาประกอบไปด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การให้ยา การส่องกล้องรักษาและการผ่าตัด โดยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา

-หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต

-ระวังไม่ใหน้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป

-ระวังอาหารมื้อเย็น ไม่รับประทานในปริมาณมากและไม่ควรนอนทันที เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว อย่างน้อย 3 ชั่วโมง

-ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

-ไม่ใส่เสื้อรัดรูปเกินไป

-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

-นอนตะแคงซ้ายและนอนหนุนหัวเตียงให้สูงประมาณ 6 นิ้ว

โรคกรดไหลย้อนนับเป็นปัญหาของโรคทางเดินอาหารที่พบบ่อยขึ้นในปัจจุบัน แม้ว่าความรุนแรงของโรคนี้จะไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็จะมีผลกระทบทั้งทางกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งในเรื่องของการทำงาน งานอดิเรก การใช้ชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตัว เพื่อหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากโรคนี้ เช่น การประพฤติปฏิบัติ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็จะสามารถทำให้ห่างไกลจากภาวะโรคนี้ และหากคุณมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงสาเหตุและปัจจัยเสริมอื่น ๆ ก็จะทำให้ห่างไกลจากภาวะโรคกรดไหลย้อนได้

โดย oOfonOo [ 13 ก.ค. 2554 : 08:52:33 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป