"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
รักษาสิทธิ์ความเป็นพลเมือง เมื่อวัยรุ่นไทยไปเลือกตั้ง

หากเปรียบเทียบวัยรุ่นสมัยพ่อแม่กับเยาวชนในสมัยนี้ เรื่องความสนใจทางการเมืองนั้นเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะวันนี้การเมืองกับวัยรุ่นเป็นเรื่องสวนทางกันอย่างชัดเจน อาจมีหลายสาเหตุ แต่ที่ชัดอาจเป็นเพราะความเบื่อหน่ายพฤติกรรมของนักการเมือง รวมทั้งขาดความรู้ในห้อง เรียนในเรื่องความเป็นพลเมือง
นายรัชฏะ ศรีบุญรัตน์ ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงเหตุผลที่เยาวชนไทยไม่สนใจการเมืองว่า สาเหตุแยกได้หลายเรื่อง หลักๆ อาจเป็นพฤติกรรมของนักการเมือง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเยาวชน ประชาชนทั่วไปก็เบื่อหน่ายและไม่ชอบ เพราะทุกวันนี้มีแต่เรื่องทะเลาะกันโดยไม่ยอมพัฒนาประเทศเสียที

นอกจากนี้ พฤติกรรมของวัยรุ่นมีกิจกรรมอื่นๆ เป็นตัวเลือกมากขึ้น และรู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องไกลตัว เมื่อความเข้าใจถูกบิดเบือนเพราะข้อเท็จจริง อีกทั้งมหาวิทยาลัยก็ไม่สอนวิชาการเมืองหรือวิชาพลเมือง และความเป็นไปของสังคมชุมชน ทำให้เขารู้สึกว่าเรื่องการเมืองไม่มีความสำคัญ

ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย บอกว่า การแก้ปัญหาทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เริ่มจากเรื่องง่ายๆ คือ ทำให้เขาเข้าใจสังคม ชุมชน แม้กระทั่งการเมือง เป็นเรื่องใกล้ตัวเขา เหมือนกับเรื่องการไปเลือกกินอาหาร แต่จริงๆ แล้วการเมืองคือความไม่เข้าใจของ 2 ส่วนขึ้นไปมาเจอกันและตกลงกัน จนปลายทางเป็นข้อสรุป ซึ่งวัยรุ่นไม่รู้เรื่องพวกนี้มาก่อน

"ต้องสร้างความเข้าใจให้เขาว่า หน้าที่คือมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน โดยเฉพาะการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. ว่าการที่เขาละทิ้งสิทธิ์โดยไม่ไปเลือกตั้งมันเป็นเรื่องผิดพลาด หากเขาเป็นประชาชนคนไทยหรือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งก็ควรไปใช้สิทธิ์ ไม่ว่าเลือกใครหรือไม่เลือกใครก็ตาม เป็นเรื่องการแสดงเจตนารมณ์ในฐานะวัยรุ่นคนหนึ่งที่มีอายุเกิน 18 ปี และมีสิทธิ์เลือกตั้ง" นายรัชฏะกล่าว และว่า

ส่วนจะทำให้วัยรุ่นมีความสนใจนั้น ทุกเรื่องต้องทำให้ง่ายเข้าไว้ เพราะปัญหาหลักอยู่ที่การตีความและคำอธิบายของผู้ใหญ่ว่าจะทำอย่างไร และสมัยนี้วัยรุ่นมีช่องทางการสื่อสารมากมาย และเมื่อวัยรุ่นเข้าใจก็จะบอกปากต่อไปเพื่อไปสู่ความคิดของเขา ว่าจริงๆ แล้วมีวัยรุ่นหลายคนเข้าใจเรื่องการเมือง และหากเขาไม่ไปเลือกตั้งก็ไม่ต่างจากนักการเมืองที่เข้าไปในสภาแล้วไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง

"เขา" บอกว่า สมัยนี้วัยรุ่นให้ความสนใจบ้านเมืองแตกต่างจากช่วง 6 ต.ค.19 เพราะด้วยระบบการศึกษา ที่แต่ก่อนเขามีหลักสูตรในกลุ่มมหาวิทยาลัยนั้นมีวิชาว่าด้วยพลเมืองเป็นเบ้าหลอมให้วัยรุ่นมีความเข้าใจการเมืองตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ทำให้มีกระบวนการคิดนำไปสู่การตอบโจทย์ ทำให้พวกเขาลุกขึ้นมาต่อสู้



โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 4 ก.ค. 2554 : 08:56:41  

ความเห็นที่ 1
ในช่วงนั้นวัยรุ่นสมัยนั้นเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับการศึกษาหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าความฉ้อฉลที่มีอยู่มากมาย สามารถสัมผัสได้ง่าย และเป็นสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลง

"เมื่อถามว่าวันนี้ทำไมไม่มากเท่าแต่ก่อน เรื่องแรกคือหลักสูตรที่ผิดเพี้ยนไป การปฏิรูปการศึกษาหลายๆ รอบก็กลับไปกลับมา เป็นวงจรที่ไม่เข้าที่เข้าทาง สุดท้ายก็กลับมาเหมือนเดิม จึงเป็นอุปสรรคทำให้กระบวนการของตัววัยรุ่นเปลี่ยนไป"

"ยังมีปัญหาความเป็นธรรมหรือคอรัปชั่น ความฉ้อฉลสมัยนี้มีความแนบเนียนมากขึ้น เป็นน้ำผึ้งขม บอกว่ามันหวานมันดี อย่างเช่น นโยบายหาเสียงดีทุกพรรค แต่ถูกซ้อนและแฝงไว้ด้วยความฉ้อฉลแยบยล จึงทำการตรวจสอบเพื่อเรียกร้องและประท้วงกัน จึงเป็นเรื่องที่วัยรุ่นเข้าถึงยาก"

ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง อยากบอกว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่กำหนดอนาคตของเรา ที่จะให้ใครเข้าไปในสภาเพื่อร่างกฎหมาย ที่มีผลผูกพันกับเขาตลอดไป ดังนั้นหน้าที่ของวัยรุ่นต้องไปเลือกตั้งแสดงตัวตนทางการเมืองสุดท้าย

"ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย" ยังกล่าวขอบคุณสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ให้การสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยตลอดมา นอกจากเรื่องการเมืองที่นำเสนอไปแล้ว ที่ผ่านมายังสนับสนุนในการรณรงค์ป้องกันเรื่องบุหรี่ เมาไม่ขับ เรื่องเยาว ชนสร้างสรรค์ เรื่องสุขภาวการณ์เป็นพลเมืองของเยาวชน

โดย oOfonOo [ 4 ก.ค. 2554 : 08:56:50 ]

Member
205 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป