"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
จิตแพทย์แนะปลูกฝัง ประชาธิปไตยในเด็ก


ขณะที่ข่าวสารการเมืองช่วงเลือกตั้ง จากสื่อต่างๆ เข้าไปสู่การรับรู้ของเยาวชนได้ไม่ยากนัก ทั้งจากตามถนนหนทาง ป้ายหาเสียง รวมถึงข่าวโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์

ในแต่ละครอบครัวหรือโรงเรียน เด็กๆ มีโอกาสรับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆ ขณะที่บางครอบครัวพ่อแม่ หรือลูกในวัย "เฟิร์สต์โหวต" อาจมีแนวคิดเลือกผู้สมัครไม่เหมือนกัน

พ่อแม่ ครู ผู้ปกครอง อาจอาศัยจังหวะในบรรยากาศการเลือกตั้งนี้ปลูกฝังหน้าที่พลเมืองในการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และประชาธิป ไตยไปพร้อมกัน ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย

น.พ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์และกรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวถึงคุณค่าของการไปใช้สิทธิเลือกตั้งว่า ถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของประชาชนภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นเรื่องของส่วนรวม ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เพราะในระบอบประชาธิป ไตยย่อมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน เราไม่สามารถได้อะไรถูกใจไปหมดทุกอย่าง

สิ่งที่เราคิดว่าถูกต้องบางทีบางขณะอาจไม่ถูกต้องเหมาะสม สิ่งที่เราแน่ใจว่าถูกอาจจะไม่ถูกก็ได้ ทุกคนควรเปิดกว้างยอมรับฟังกัน ในเมื่อเป็นเรื่องของส่วนรวมต้องยอมรับฟังข้อสรุปของส่วนรวม เพราะสังคมมีระเบียบและกติกา ในช่วงเลือกตั้งนี้เป็นโอกาสดีในการปลูกฝังประชาธิปไตยให้เยาวชน

การปลูกฝังและเสริมสร้างประชาธิปไตยควรเริ่มตั้งแต่เด็กๆ อาจแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ เด็กเล็กซึ่งการรับรู้อาจไม่ลึกซึ้งเหมือนผู้ใหญ่ สิ่งที่พ่อแม่หรือครูควรทำ คือสร้างสภาพแวดล้อมให้เป็นประชาธิปไตย เช่น ทำกิจกรรมร่วมกัน ปรึกษาหารือกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุป หรืออาจแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนเอง พยายามสอดแทรกในเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมกัน อาจอาศัยสถานการณ์ต่างๆ ภายในบ้าน ซึ่งเป็น การส่งเสริมประชาธิปไตยทางอ้อม เพราะถ้าเขามีประสบการณ์ลักษณะนี้เขาก็จะเข้าใจเรื่องนี้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

จิตแพทย์เสริมว่า สำหรับเด็กโต พ่อแม่หรือครูควรให้เด็กมีโอกาสรับรู้ข้อมูลรอบด้านให้มากที่สุด หากเด็กฟังทางเดียวผู้ใหญ่ควรช่วยแนะนำให้เด็กรู้จักการฟังรอบด้าน ชวนคุยกระตุ้นให้เขาคิดและตัดสินใจด้วยตัวเองมากกว่าการชี้นำด้วยผู้ใหญ่

"เราต้องฝึกให้เด็กมีความคิดเป็นของตัวเอง รู้จักเคารพความเห็นของกันและกัน ไม่ใช่คิดหรือเลือกตามผู้ใหญ่ และมีเหตุผลอธิบายกับตัวเองได้ในการกระทำนั้นๆ เช่น มีทางเลือกสองอย่าง คือ ทำหรือไม่ทำ ซึ่งเหตุผลมีเป็นร้อย ซึ่งเหตุผลที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจข้อสรุปจะเป็นตัวชี้วัดว่าคนนั้นมีวุฒิภาวะมากหรือน้อย การกระตุ้นให้เด็กเติบโตและความคิดเป็นของตัวเองจะทำให้เด็กซึมซับเรื่องของประชาธิปไตย สามารถตัดสินใจโดยใช้การพินิจพิเคราะห์ด้วยเหตุและผลของตัวเองได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ สามารถยอมรับผลต่างๆ ที่ออกมาได้"

โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 29 มิ.ย. 2554 : 08:44:25  

ความเห็นที่ 1
สำหรับวิธีสื่อสารกับลูกในช่วงเลือกตั้ง น.พ.ไกรสิทธิ์แนะนำว่า

1.อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการที่เราจะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งถือเป็นการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง หน้าที่ไม่ได้ไปแค่เข้าคูหา กากบาทแล้วก็เสร็จ แต่จริงๆ การกากบาทนั้นมีคุณค่าหรือไม่ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าใช้เวลาพินิจพิเคราะห์มากน้อยแค่ไหนในการเลือก

2.สอนให้ลูกรู้จักการฟังรอบด้าน ไม่ใช่ฟังกลุ่มเดียว ด้านเดียว ทำให้การมองภาพไม่ทั่วและกว้าง เช่น อาจแนะนำให้ลูกศึกษาหาข้อมูลของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ไม่ใช่เลือกเพราะเห็นคนอื่นเลือกหรือเลือกตามพ่อแม่ แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะมีความคิดเห็นไม่ตรงกันก็สมควรฟัง ให้ได้มากที่สุด เพราะว่าตัวเราเองต้องหาข้อสรุปให้กับตัวเอง บางทีเรื่องเดียวกันฟังคนหนึ่งพูด อีกคนเล่า กลายเป็นหนังคนละเรื่อง ต้องบอกให้ลูกรู้จักชั่งใจ รับฟัง เพราะการได้ฟังความหลายด้านจะช่วยลดความผิดพลาดได้

3.อธิบายให้ลูกเข้าใจถึงการเลือกตั้งว่าแม้ผลจะออกมาเป็นอย่างไร การเลือกตั้งถือเป็นงานที่เสร็จไปเพียงหนึ่งขั้นตอนเท่านั้น ยังมีงานที่ต้องทำอีกหลายขั้นตอน ให้มองว่าเป็นเรื่องส่วนรวมไม่ใช่เรื่องส่วนตัวที่จะแพ้ ชนะ เสียหน้า เสียศักดิ์ศรี เพราะถ้าถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวอาจเป็นการแยกแยะที่ไม่ถูกต้อง

4.ให้คำแนะนำลูกในเรื่องการรับรู้ข่าวสาร เพราะบางทีข่าวการเมืองอาจทำให้เกิดความ เครียดได้ ดังนั้น ไม่ควรยึดติด หรือถ้าหากติดตามข่าวสารเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจแล้วเกิดความเครียด ควรแนะนำให้ลูกหยุดแล้วไปทำกิจกรรมอื่น เพราะชีวิตยังมีอีกหลายด้านให้ต้องทำและรับผิดชอบ ทั้งนี้ต้องเอาใจใส่มากๆ เพราะความเครียดอาจทำให้บรรยากาศหรือความสัมพันธ์ภายในครอบ ครัวเสีย เกิดความขัดแย้งในครอบครัวได้ พ่อแม่เองถ้าเครียดก็ต้องหยุดพูดเรื่องนั้น หันมาคุยเรื่องอื่น เช่น เรื่องสถานที่ท่องเที่ยว หรือภาพยนตร์

5.ที่สำคัญที่สุดพ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความมีประชาธิปไตย เช่น ไม่ทะเลาะ ขัดแย้ง หรือโต้เถียงเรื่องการเมืองให้ลูกเห็น ควรยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และยอมรับในประชาธิปไตยเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก

โดย oOfonOo [ 29 มิ.ย. 2554 : 08:45:01 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป