"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
“น้ำกระสายยา” การรักษาโรคแบบแพทย์แผนไทย


ตำรับยาไทยต่างๆ ที่เราใช้รักษาโรคนั้น โดยส่วนมากนิยมทำเป็นยาผงหรือยาลูกกลอน ส่วนในปัจจุบันก็พัฒนามาเป็นยาเม็ดแคปซูลเพื่อใช้รับประทานได้ง่ายขึ้น การใช้ยาไทยแต่เดิมนั้นจะมีการระบุวิธีใช้ควบคู่กับน้ำกระสายยา ยาบางตำรับเมื่อเข้าน้ำกระสายยารับประทานจะเกิดประสิทธิภาพในการรักษาโรคแตกต่างกัน และถือได้ว่าน้ำกระสายยาคือพาหะที่นำยาไปรักษาโรคและอาการนั้นโดยตรง

กระสายยามีทั้งแบบแข็งคือ แป้งและน้ำตาลทราย แต่โดยส่วนมากมักเป็นของเหลวจึงเรียกว่าน้ำกระสายยา ได้จากการเตรียมแบบต้ม แช่ บีบ ฝน คั้น ละลาย เพื่อประโยชน์ คือ

- เพื่อช่วยเตรียมยาให้เป็นรูปแบบยาที่ต้องการ โดยเฉพาะยาลูกกลอนและยาแท่ง น้ำกระสายยาที่จะใช้กันมากคือ น้ำผึ้ง เพราะรสชาติ กลิ่น และสรรพคุณดีกว่าตัวอื่นๆ

- เพื่อช่วยละลายยาเตรียมบางรูปแบบ เช่น ยาผง ยาเม็ดขนาดใหญ่ ยาแท่ง เพื่อช่วยให้กลืนได้สะดวก โดยมักใช้น้ำฝน น้ำสะอาด น้ำสุก หรือน้ำร้อน

- เพื่อช่วยให้ยานั้นแสดงฤทธิ์หรือออกฤทธิ์ได้เร็วและดีขึ้น ทั้งยังช่วยแก้ไข้ ป้องกันไข้ ป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการใช้ยาได้ นอกจากนี้ยังเสริมฤทธิ์กับตัวยาหลัก เช่น น้ำเปลือกแค น้ำเปลือกลูกทับทิม มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้เป็นน้ำกระสายสำหรับยาธาตุบรรจบ ช่วยเสริมสรรพคุณรักษาอาการท้องเสีย

- เพื่อช่วยละลายตัวยาสำคัญ เช่น น้ำกระสายยาที่มีฤทธิ์ เป็นกรด เช่น น้ำส้มสาย ชู น้ำมะนาว น้ำมะงั่ว น้ำส้มซ่า เหมาะสำหรับสมุน ไพรที่มีสารสำคัญที่ละลายได้ในกรด หรือมีอัลคาลอยด์ที่ทำปฏิกิริยากับกรดในน้ำกระสายยาได้เป็นเกลือ

น้ำกระสายยาที่มีฤทธิ์ เป็นกลาง เช่น น้ำดอกไม้ ช่วยในการละลายของสารที่เป็นขั้วสูง เช่น แทนนิน สารพวกฟีนอลลิก (phenolic compounds) หรือกลัยโคไซด์

น้ำกระสายยาที่มีฤทธิ์ เป็นด่าง เช่น น้ำปูนใสหรือแคลเซียม ไฮดรอกไซด์ (calcium hydroxide, Ca (OH) 2) เหมาะสำหรับช่วยละลายสารที่มีคุณสมบัติเป็น

การจะใช้น้ำกระสายยา ต้องพิจารณาถึงสมมติ ฐานของโรค เช่น โรคที่ต้องมีการสมานต้องใช้น้ำกระสายยาที่มีรสฝาด ถ้าโรคร้อนกระสับกระส่าย อ่อนเพลียไม่มีกำลัง ควรใช้น้ำกระสายยาที่มีรสเย็น หอม เป็นต้น และจะต้องคำนึงถึงเวลาที่รับประทานยาด้วย คือ ตามตำรับแพทย์แผนไทย (โบราณ) จะมีเวลาการรับประทานยา เพื่อให้การรักษานั้นได้ผล ดังต่อไปนี้

ยาม 1 เวลา 06.00 - 10.00 น. หรือ 18.00 - 22.00 น. โรคทางเสมหะ ต้องใช้น้ำกระสายยาที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว น้ำมะงั่ว น้ำส้มซ่า น้ำส้มสายชู

ยาม 2 เวลา 10.00 - 14.00 น. หรือ 22.00 - 02.00 น. โรคดีและโลหิต ต้องใช้น้ำกระสายยาที่มีรสขม เย็น เช่น น้ำดอกไม้เทศ น้ำใบผักไห่

ยาม 3 เวลา 14.00 - 18.00 น. หรือ 02.00 - 06.00 น. โรคทางลม ต้องใช้น้ำกระสายยาที่มีรสสุขุม เผ็ด ร้อน เช่น น้ำขิง น้ำมูตร โคดำ

โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 28 มิ.ย. 2554 : 08:57:40  

ความเห็นที่ 1


การเตรียมน้ำกระสายยา น้ำกระสายยาสำหรับยาไทยนั้นเตรียมได้จากเภสัชวัตถุต่างๆ ทั้ง พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ด้วยวิธีการต่างๆ กัน แต่ควรล้างให้สะอาดเสียก่อน เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม วิธีเตรียมน้ำกระสายยาโดยทั่วไปทำโดย

น้ำขิง คุณแก้ไข้ แก้ลม แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน อาเจียน

น้ำชะเอม มีทั้งชะเอมไทย ชะเอมจีน และชะเอมเทศ แต่ที่นิยมใช้คือ ชะเอมจีน นอกจากจะช่วยละลายยาให้กินง่ายแล้วยังช่วยทำให้ยามีรสหวานน่ากิน อีกทั้งยังมีสรรพคุณแก้ไอ แก้คอแห้ง และขับเสมหะได้ด้วย

น้ำซาวข้าว มีรสเย็น มีสรรพคุณถอนพิษสำแดง แก้พิษร้อนภายใน ถ้าใช้เป็นน้ำกระสายยามักใชักับยาแก้ไข้ เพราะช่วยเสริมฤทธิ์ลดไข้ของยา

น้ำดอกไม้ เป็นน้ำที่อบด้วยดอกไม้หอมที่นิยมใช้คือ ดอกมะลิ และดอกกระดังงา สรรพคุณแก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้เป็นน้ำกระสายยาเพื่อทำเป็นยาลูกกลอนหรือยาแท่ง และใช้ละลายยาให้กินยาได้ง่ายขึ้น

น้ำดอกไม้เทศ ส่วนมากมาจากประเทศอิหร่านหรือซีเรีย เป็นน้ำมันดอกยี่สุ่น มักใช้เป็นน้ำกระสายยาสำหรับยาแก้อ่อนเพลีย ยาบำรุงกำลัง เพราะมีสรรพคุณแก้พิษไข้ แก้ร้อน แก้กระหาย แก้อ่อนเพลีย

น้ำนม น้ำนมโคมีรสหวาน มัน เย็น มีสรรพคุณปิดธาตุ แก้โรคในอก บำรุงกำลังและเลือดเนื้อ เจริญไฟธาตุ นอกจากช่วยละลายยาให้กินง่ายแล้ว ยังช่วยเสริมฤทธิ์เจริญไฟธาตุของตัวยาอื่นๆ ได้

น้ำใบชา มีสรรพคุณฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ท้องเสีย ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ทำให้มีชีวิตชีวา

น้ำใบผักไห่ ต้นผักไห่รู้จักกันในชื่อ มะระขี้นก มีรสขม เป็นยาเจริญอาหาร ฟอกเลือด เป็นยาระบายอย่างอ่อน ใช้ในคนไข้โรคตับและท่อน้ำดีอักเสบ กินมากเป็นยาทำให้อาเจียน

น้ำผึ้งและน้ำผึ้งรวง น้ำผึ้งใช้เป็นทั้งอาหารและยา ใช้เป็นน้ำกระสายยา โดยจัดเป็นน้ำกระ สายยาที่ใช้มากที่สุดในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ใช้ผสมผงยาเพื่อปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้ทาแผล และกินเป็นยาบำบัดโรค มีสรรพคุณบำรุงกำลัง แก้สะอึก แก้ไข้ตรีโทษ และเป็นยาอายุวัฒนะ

น้ำมะนาว ได้จากการบีบหรือคั้นน้ำจากมะ นาวที่แก่จัด ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าน้ำมะนาวมีรสเปรี้ยว สรรพคุณกัดเสมหะ ฟอกโลหิตประจำเดือนของสตรี น้ำมะนาวเป็นทั้งน้ำกระสายยาสำหรับปั้นยาเป็นแท่ง และเป็นน้ำกระสายละลายยากิน น้ำร้อน เป็นน้ำฝนหรือน้ำสะอาดที่ต้มให้เดือด แล้วยกลง น้ำร้อนเป็นน้ำกระสายยาที่ใช้มากในยาไทย โดยจะช่วยละลายยา ทำให้กินยาได้ง่ายขึ้น ใช้เป็นกระสายยาสำหรับปั้นยาเป็นแท่ง

น้ำส้มซ่า ได้จากการบีบหรือคั้นน้ำจากผลแก่จัดของส้มซ่า มีรสเปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณกัดฟอกเสมหะ แก้ไอ เป็นยาฟอกโลหิต

น้ำส้มสายชู เป็นสารละลายใส ไม่มีสี หรือสีชาอ่อนๆ มีกลิ่นฉุน รสเปรี้ยว มีสรรพคุณระงับความร้อนในร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ

โดย oOfonOo [ 28 มิ.ย. 2554 : 08:59:29 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป