"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
รอบรู้เรื่อง "ปวดหลัง"


อาการปวดหลัง เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทั่วไป การอักเสบ ตึงเครียด บริเวณข้อต่อ กล้ามเนื้อหรือหมอนรองกระดูกบริเวณส่วนหลังของร่ายกาย มักจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง กิจกรรมการเคลื่อนไหวบางอย่างโดยเฉพาะการยกของหนักบ่อยๆ การก้ม และการบิดเอี้ยวตัว สามารถทำให้อาการปวดหลังแย่ลง อากัปกิริยาที่ไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะบางอย่าง หรือปัญหาทางสุขภาพ

ประเภทของโรคปวดหลัง

1. อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน มักเกิดจากกล้ามเนื้อเอวตึงเคล็ด หรือข้อต่อเอ็นบริเวณรอบกระดูกสันหลังอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หลังจากได้รับการรักษา

2. อาการปวดร้าวลงขาแบบเฉียบพลัน อาจจะเกิดจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทการกระทบกระเทือนของเส้นประสาทบริเวณหลังมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดที่รุนแรงกว่า

3. อาการปวดหลังและปวดร้าวลงขา แบบเรื้อรัง เช่น กระดูกสันหลังตีบแคบเบียดเส้นประสาท การรักษาเฉพาะทางถือเป็นสิ่งสำคัญ

การรักษา

- การนอนพัก การนอนราบบนเตียงให้เพียงพอเป็นการลดปวดขั้นพื้นฐาน การนอนพักบนเตียงเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ อาจจะยิ่งเพิ่มอาการปวดหลัง และอาการปวดร้าวลงขา

- การประคบเย็น ประคบร้อน ควรใช้น้ำแข็ง หรือแผ่นประคบเย็น หรือ ร้อน ประคบทิ้งไว้ครั้งละประมาณ 20 นาที จำนวน 3-4 ครั้งต่อวัน ในช่วง 2-3 วันแรกวิธีประคบด้วยน้ำอุ่นช่วยบรรเทาอาการปวดได้มากกว่าโดยเฉพาะอาการปวดร้าวลงขา

- การรับประทานยา เช่น ไอบูโปรเฟน หรือแอสไพริน สามารถช่วยระงับอาการปวดและบวมบริเวณหลังได้ หากยาระคายเคืองกระเพาะอาหาร ควรเปลี่ยนเป็น อะเซตามิโนเฟน (พาราเซตามอล) หรือยาอื่นที่มีฤทธิ์ระคายเคืองน้อยกว่าทดแทน ยาคลายกล้ามเนื้ออาจมีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงนอน

- อิริยาบถ การนอน และน้ำหนักตัว หากนอนท่าหงายควรใช้หมอนหนุนใต้หัวเข่า หากนอนท่าตะแคงการใช้หมอนรองระหว่างขาสองข้าง ไม่ควรใช้ฟูกฟองน้ำหรือเตียงสปริง จะทำให้กระดูกสันหลังแอ่น ปวดหลังเพิ่มขึ้นได้

- โรคอ้วน เพิ่มแรงกดทับให้แก่หลัง การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อย ช่วยลดอาการและป้องกันการปวดหลังได้

การออกกำลังกาย

เริ่มออกกายบริหารหลังตามคำแนะนำหรือภายใต้การดูแลของนักกายภาพกาย ประมาณครั้งละ 10-30 นาที ดังนี้

Step 1 ท่าเริ่มต้น นอนหงาย ชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้น วางแขนทั้งสองข้างลำตัว จังหวะที่ 1 เกร็งกล้ามเนื้อที่ท้องเพื่อกดหลังให้แนบกับพื้นนับ 1-5 ช้าๆ จังหวะที่ 2 คลายกล้ามเนื้อ ปล่อยพักตามสบายทำ 5-6 ครั้ง ในวันแรกแล้วเพิ่มขึ้นในวันถัดไป

Step 2 นอนหงาย ชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้น ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับเข่าข้างที่ต้องการยืดกล้ามเนื้อ ค่อยๆ ดึงเข่าเข้าหาลำตัวช้าๆ จนรู้สึกตึงบริเวณสะโพกเล็กน้อยดึงค้างไว้นับ 1-5 คลายออก ทำซ้ำติดต่อกัน 5 ครั้งของเข่าแต่ละข้าง

Step 3 นอนหงาย ชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้น ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับเข่าทั้งสองข้าง ค่อยๆ ดึงเข่าเข้าหาลำตัวช้าๆ จนรู้สึกตึงบริเวณสะโพกเล็กน้อย โดยให้เอวและสะโพกไม่ลอยขึ้นจากพื้น ดึงค้างไว้นับ 1-10 คลายออกทำซ้ำติดต่อกัน 5 ครั้ง

Step 4 นอนหงายเหยียดขาทั้งสองข้างตรง ขยับข้อเท้าทั้งสองข้างขึ้น-ลง กดส้นเท้ากับพื้นและเหยียดปลายเท้าขึ้นหลังจนรู้สึกตึงบริเวณสะโพกเล็กน้อย จากนั้นค่อยๆ คลายออก ทำซ้ำติดต่อกัน 10 ครั้ง

โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 24 มิ.ย. 2554 : 08:56:40  

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป