"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
โรคใหม่ 'หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในท้อง'


หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในท้อง (Aortic Aneurysm) โชคดีที่โรคที่เป็นและมีโอกาสเสียชีวิตสูง 99% นี้ มี “หมอพร้อม เครื่องมือพร้อม” นพ.ลิขิต วังศาบุตร จึงรอดมีชีวิตมาจนอายุ 72 ปี ยังแข็งแรงพอที่จะเป็นแพทย์เชี่ยวชาญ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.กรุงเทพ ได้ในปัจจุบัน

ขณะกำลังพักผ่อน สังสรรค์กับเพื่อนๆ ในค่ำคืนนี้ ที่ห้องคาราโอเกะ กะว่าจะโชว์ลูกคอสัก 3 เพลงอย่างเช่นเคยที่ผ่านมา แต่ค่ำนี้ ผิดปกติมาตั้งแต่เช้า ปวดท้องตั้งแต่เข้าประชุม เช้าไปตรวจเลือดผลออกมาตอนบ่ายว่า เป็นเบาหวาน ความผิดปกติมีมากกว่าปกติ ปวดท้องและปวดหลัง ร้องได้เพลงเดียวก็ไม่ไหวแล้ว จึงเดินกลับจะไปนั่ง ยังไม่ถึงเก้าอี้นั่งก็ล้มลงซะแล้ว

อาการของโรค

เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ในร่างกาย ที่มีหน้าที่นำเลือดแดงจากหัวใจส่งไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย มีความยาวตั้งแต่ช่องอกจากหัวใจ ไปจนถึงช่องท้อง มีความผิดปกติ ทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหลอดเลือด ไม่ว่าจะเกิดจากความเสื่อมตามอายุ หรือความผิดปกติอื่นใด ก็จะมีผลทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการโป่งพอง และแตกออกได้

ตำแหน่งที่พบบ่อย

หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง และในช่องอก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการอะไร ยกเว้นในกรณีที่หลอดเลือดแดงที่โป่งพองมีการปริแตก อาจมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง หรือปวดในช่องอกได้เฉียบพลัน และมักจะพบร่วมกับอาการช็อกด้วย เนื่องจากมีการเสียเลือดอย่างเฉียบพลัน

การตรวจหลอดเลือดโป่งพอง

โดยทั่วไปสามารถตรวจพบได้จากการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูง หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดโป่งพองได้แก่ การมีประวัติครอบครัวที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ โรคหัวใจ เมื่อแพทย์ตรวจพบหลอดเลือดที่มีขนาดไม่โตกว่า 5 เซนติเมตร อาจแนะนำให้มาตรวจเป็นระยะเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่หลอดเลือดแดงมีการโป่งพองมีขนาดโตกว่า 5 เซนติเมตร แพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษา ยิ่งขนาดของหลอดเลือดมีขนาดโตมากเท่าไร พบว่าอัตราเสี่ยงของการปริแตกยิ่งมีมาก โอกาสเสียชีวิตสูง

อาการของเส้นเลือดโป่งพอในท้อง

มีโอกาสพบมากในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 30% และเพิ่มมากขึ้นตามอายุ ขนาดของเส้นเลือดปกติจะมีขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร แต่ที่ตรวจพบส่วนใหญ่จะเกินกว่า 5 เซนติเมตร การตรวจพบก่อนจะทำให้สามารถป้องกันได้ ถ้าหากตรวจพบ 6 เซนติเมตรแล้ว จะมีโอกาสแตกภายใน 5 ปี เมื่อเริ่มขยายตัวมากๆ ก็จะมีอาการปวดท้องและปวดหลัง และหากปล่อยไว้ให้ “แตก” โอกาสเสียชีวิตมีสูง

โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 6 พ.ค. 2554 : 08:33:15  

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป