"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
เตือนใช้ยาแก้แพ้มากอาจส่งผลข้างเคียง

ปัจจุบันอากาศเมืองไทยปรวนแปรมากขึ้น เดี๋ยวร้อน ฝน หนาว จึงทำให้มีอาการเป็นหวัด คัดจมูก แพ้อากาศ กันมากขึ้น หลายคนจะเรียกหายาแก้แพ้ เพื่อใช้การรักษาหรือบรรเทาอาการให้ลดลง จึงส่งผลให้อัตราการใช้ยาแก้แพ้ในเมืองไทยสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่าปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงในการใช้ จนกลายเป็นเพื่อนที่แสนดีรองจากยาแก้ปวด พาราเซตามอล ด้วยเหตุนี้ทางสมาคมเภสัชกรรมฯ ขอเตือนคนไทยถึงวิธีการใช้ยาแก้แพ้ให้ได้ประโยชน์และไม่มีผลข้างเคียง

เภสัชกร วิพิน กาญจนการุณ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่า คนไทยทั้งคนเมืองและเด็กรุ่นใหม่เป็นภูมิแพ้กันมากขึ้น เนื่องจากในแต่ละวันที่ต้องพบอากาศที่เปลี่ยนแปลงและต้องพบเจอกับตัวการที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่มีอยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน เชื้อรา มลพิษ อาหารที่ปนเปื้อน เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ รวมถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยตัวการเหล่านี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้การสัมผัสการหายใจ และการกิน ส่งผลให้ภูมิแพ้เป็นโรคยอดฮิตในยุคนี้ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะนิยมกินยาแก้แพ้เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการด้วยตนเองในกรณีที่มีการแพ้แบบไม่รุนแรง

ด้วยเหตุนี้ ยาแก้แพ้จึงเป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอัตราการใช้สูงมากในประเทศไทย แม้ยาในกลุ่มนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มยาที่ค่อนข้างปลอดภัยแต่มี 3 ประการ ที่ผู้ป่วยต้องรู้จักเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้ยา

1. รู้จักยา ยาแก้แพ้นิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามผลข้างเคียง ได้แก่ ชนิดที่ทำให้ง่วง (ยาแก้แพ้รุ่นเดิม) และชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (ยาแก้แพ้รุ่นใหม่) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ไม่รุนแรง โดยที่โรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่เกิดอาการได้ในหลายที่ อาทิ โพรงจมูก ตา หรือผิวหนัง ซึ่งจะมีอาการ เช่น แพ้อากาศ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล แพ้เกสร ไรฝุ่น ขนสัตว์ เชื้อรา ลมพิษ เคืองตา เป็นต้น

2.ควรมีหลักการและระวังการใช้ยา

-เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรใช้ยาก่อนสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้แพ้ และใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ต้องพบกับสารที่ก่อภูมิแพ้และยาแก้แพ้จะใช้ได้ผลดีกับสารที่ก่อภูมิแพ้และยาแก้แพ้จะใช้ได้ผลดีกับการป้องกันมากกว่าการระงับอาการแพ้

-ควรเริ่มใช้ยาจากขนาดต่ำก่อนแล้วค่อยปรับขนาดขึ้น จนได้ผลที่น่าพอใจ แต่ต้องระวังเรื่องผลข้างเคียงด้วย

-เมื่อร่างกายเกิดการชินยาแก้แพ้ การเปลี่ยนชนิดของยาแก้แพ้ชนิดเดิมไปเป็นชนิดใหม่ภายในระยะเวลา 1-2 เดือน ส่วนใหญ่จะทำให้กลับมาใช้ยาชนิดเดิมได้อีก

-ในกลุ่มเด็กทารกควรเพิ่มความระวังในการใช้เป็นพิเศษ เนื่องจากเด็กทารกมีความไวต่อการตอบสนองต่อยานี้มาก อาจเกิดผลกระตุ้นประสาท ทำให้เกิดอาการตื่นเต้น กระวนกระวาย ร้องโยเย หรือรุนแรงถึงขั้นชัดได้



โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 3 พ.ค. 2554 : 08:45:54  

ความเห็นที่ 1
3.รู้จักข้อจำกัดของยา ในกรณีนี้ จะแยกเป็น 2 กลุ่ม

ข้อจำกัดของยาแก้แพ้รุ่นเดิม คือทำให้ปากแห้ง จมูกแห้ง ปัสสาวะลำบาก ที่สำคัญทำให้ง่วงนอน จึงไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับการดื่มสุราหรือยากดประสาท เช่น ยานอนหลับ ยาคลายเคลียด ไม่ควรใช้เมื่อต้องขับรถ หรือควบคุมเครื่องจักร แต่อีกมุมหนึ่งผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงนี้ก็มีประโยชน์กับผู้ป่วยที่ต้องการการพักผ่อน เช่น โรคหวัด หรือ แพ้อากาศ เพราะยานี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ รวมทั้งยานี้จะมีฤทธิ์ลดน้ำมูก ทำให้จมูกแห้ง ช่วยทำให้ผู้ป่วยสบายมากยิ่งขึ้น

ข้อจำกัดของยาแก้แพ้รุ่นใหม่ คือ ยาจะออกฤทธิ์ช้าแต่มีฤทธิ์อยู่ได้นาน ดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องกินยานี้ต่อเนื่องหลายวันจึงเห็นผล อีกทั้งยาแก้แพ้รุ่นใหม่จะลดน้ำมูกและอาการคัดจมูกไม่ได้ดีเท่ายาแก้แพ้รุ่นเดิม

"ยาแก้แพ้ ไม่ใช่ยาอันตรายแต่หารู้จักใช้อย่างถูกต้องจะได้ประโยชน์สูงสุด"

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดอาการแพ้ สิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือ สังเกตว่าสิ่งใดที่ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยงเมื่อต้องเจอตัวการที่ทำให้แพ้ เลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง หมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ปรึกษาแพทยหรือเภสัชกรเมื่อต้องการใช้ยา นายกสมาคมเภสัชกรรมฯ กล่าวในตอนท้าย

ขอบคุณข้อมูลจาก เภสัชกร วิพิน กาญจนการุน นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล

โดย oOfonOo [ 3 พ.ค. 2554 : 08:46:06 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป