"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
ขอชื่นชมโครงการ "จากห้องเรียนสู่ท้องนา จับมือร่วมสร้างปัญญา"
ผมได้รับวารสาร TBS News ฉบับ ล่าสุด ทราบว่าในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้ กำหนด วิชาบังคับ เข้าใจว่าเป็น สำหรับชั้นปีที่สาม ให้ลงไปสัมผัสกับชีวิตของสังคมไทย ที่อยู่ในต่างขังหวัดและเป็น ชนบท รู้สึก ยินดีมากครับ ที่มีอวิชาแบบนี้เกิดขึ้น และเป็นวิชาบังคับ แม้ว่า จำนวนนักศึกษา ในโครงการนี้มีเพียง 90 คน (เท่าที่ดูจากข้อมูลใน website www.bus.tu.ac.th ) แต่ก็เป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ทำให้คำว่า "ฉันรักธรรมศษสตร์ เพราะ ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" ปรากฎเป็นจริงครับ ผมคิดว่า เพื่อนๆ ธรรมศาสตร์ หลายๆ คน ยังยินดีช่วยเหลือ อาจารย์ผู้ดำเนินโครงการนี้นะครับ อยากให้ กำลังใจ ที่ผมคิดเช่นนี้เพราะ ผมมีประสบการณ์ตรงครับ ลูกสาวของผม(ซึ่งเรียน ธรรมศาสตร์เหมือนกัน) และกลุ่มเพื่อน ต้องไปทำรายงานเรื่อง ชนกลุ่มน้อย ที่ เสน่ห์พร่อง อ.สังขละบุรี ไปตอนเย็นแต่ คลาดเวลาการนัดหมาย แต่โชคดี ไปถามทาง ที่ร้านอาหาร พบ รุ่นพี่ ธรรมศาสตร์ ที่รับราชการอยู่ที่นั่น ให้คำแนะนำ จน สามารถแก้ไขปัญหาไปได้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำมากมาย (ผมทราบรายละเอียดเพราะไปด้วย แต่ เจตนาให้พวกเขาได้เรียนรู้และเข้าใจชีวิตมากขึ้น จึงปล่อยให้พวกเขาดิ้นรนแก้ปัญหาเอง) การมีวิชาแบบนี้ ทำให้ นักศึกษารุ่นน้องๆ มีประสบการณ์ตรงในการแก้ไขปัญหา ที่มีสภาพแวดล้อมต่างไปโดยสิ้นเชิง กับ การดำรงชีวิต ตามปกติ และเท่ากับเป็นการเรียนรู้ ที่มีกรอบวางแผนล่วงหน้า (ซึ่งต่างจาก ที่ลูกสาวผมและกลุ่มเพื่อนพบ ที่เกิดจากการขาดการเตรียมการที่ดี) เราสามารถที่จะวางกรอบ ไว้ล่วงหน้าได้ระดับหนึ่ง แม้ไม่ทั้งหมด แต่ ชื่นชม มากๆ ครับ และ ผมเองก็เคยใช้ชีวิตในชนบท 3 ปี โดย พยายาม โดด จาก หอคองาช้าง ลงมา ยอมรับว่า เจ็บมากครับ โชคดีครับที่อาจารย์ที่ปรึกษา(ท่านอาจารย์ ธรรมนูญ ลัดพลี)ท่านใจแข็งไม่ยอมรับการยื่นขอลาออกโดยรับเพียงอนุปริญญาของผม ทำให้ผมก้าวเดินไปสู่เส้นทางใหม่ ที่ ไม่สุดขั้วจนเกินไป


โดยคุณ : tritep เมื่อ 4 มิ.ย. 2552 : 07:52:31  

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป