"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
รู้ได้อย่างไรว่า "อ้วนลงพุง"


การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการของร่างกาย และการไม่ออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงน้อย อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ซึ่งไม่เฉพาะการมีน้ำหนักตัวมากเพียงอย่างเดียว แต่เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

โรคอ้วนลงพุง เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป เกิดจากการเผาผลาญอาหารผิดปกติ ไขมันหน้าท้องแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งจะยับยั้งกระบวนการเผาผลาญกลูโคสที่กล้ามเนื้อ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ หรืออุดตัน แต่ถึงแม้ว่าไขมันจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและโรคเรื้อรังต่าง ๆ ไขมันก็ยังคงเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ เพื่อให้ความอบอุ่นและเปรียบเสมือนตัวกันกระแทกให้กับร่างกาย แต่หากมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป กล่าวคือ ในผู้หญิงพบมากกว่า 30% และในผู้ชายพบมากกว่า 25% ถือว่าเป็นโรคอ้วน และถ้ารอบเอวเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เซนติเมตร จะยังเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเบาหวานได้มากถึง 3-5 เท่า

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอ้วน วิธีการทำได้ง่ายๆ โดยการวัดส่วนสูง น้ำหนักตัว และเส้นรอบเอวแล้วนำมาพิจารณาดังนี้

1) น้ำหนักตัวที่เหมาะสมเทียบกับส่วนสูง

น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงเท่ากับ ส่วนสูง (เซนติเมตร) ลบ 110

น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ที่เหมาะสมสำหรับผู้ชายเท่ากับ ส่วนสูง (เซนติเมตร) ลบ 100

ตัวอย่างเช่น เปิ้ลสูง 155 เซนติเมตร น้ำหนักที่เหมาะสมคือ 155-110 = 45 กิโลกรัม ดังนั้น ถ้าน้ำหนักปัจจุบันของเปิ้ล มากกว่า 45 กิโลกรัม แสดงว่าน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น

2) ดัชนีมวลกาย

ดัชนีมวลกาย (กิโลกรัมต่อเมตร) เท่ากับ น้ำหนัก (กิโลกรัม) ต่อ ส่วนสูง (เมตร)

ดัชนีมวลกายที่เหมาะสมทั้งผู้หญิงและชาย คือ 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อเมตร

หากน้อยกว่า 18.5 หมายถึงผอม หากมากกว่า 22.9 ขึ้นไปถึง 24.9 หมายถึงน้ำหนักเกิน และหากมากกว่า 25 ขึ้นไป ถือว่าอ้วน

3) เส้นรอบเอว

ค่าปกติของเส้นรอบเอวสำหรับผู้หญิง ไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว

ค่าปกติของเส้นรอบเอวสำหรับผู้ชาย ไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว

โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 28 มี.ค. 2554 : 08:42:34  

ความเห็นที่ 1


การวินิจฉัยว่าอ้วนลงพุง จะวัดจากเส้นรอบเอวร่วมกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพิ่มเติมดังนี้ ความดันโลหิต 130 ต่อ 85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป, น้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป, คอเลสเตอรอลชนิดดี (เอชดีแอล) ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิงหรือต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย และไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไป

คำถามต่อมาก็คือ เราจะมีวิธีในการควบคุมน้ำหนัก เส้นรอบเอว ปริมาณไขมันได้อย่างไร

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ความไม่สมดุลของพลังงานที่ได้รับจากการทานอาหารและพลังงานที่ร่างกายใช้ไปในกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทานอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตัวเองดังคำกล่าวที่ว่า "สุขภาพของท่านเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ท่านกิน"

อีกทั้ง ในแต่ละวันร่างกายมีความต้องการพลังงานของแต่ละคนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ภาวะโภชนาการ และระดับกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง หรือการออกกำลังกาย

วิธีการประมาณความต้องการพลังงานสามารถคิดได้ดังนี้

ความต้องการพลังงาน (แคลอรี ต่อ วัน) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) x 30

ถ้ามีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ความต้องการพลังงานคือ 50 x 30 = 1500 แคลอรี ต่อ วัน

นั่นคือต้องได้รับพลังงาน 1500 แคลอรี ต่อ วัน เพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ในกรณีที่มีดัชนีมวลกายปกติ โดยทั่วไป การทานอาหาร 3 มื้อ มื้อละ 500 แคลอรี อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง อาจทานอาหารที่มีพลังงานค่อนข้างมากในมื้อใดมื้อหนึ่ง เช่น มื้อเช้า หรือมื้อเที่ยง และพลังงานน้อยลงในมื้อที่เหลือ

หลักสำคัญในการควบคุมสมดุลพลังงานหรือควบคุมปริมาณพลังงานทั้งวันให้เป็นไปตามที่ควรได้รับ หากได้รับพลังงานมากเกินไป จะต้องมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง หรือการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดสมดุลพลังงานได้ในที่สุด

โดยทั่วไป การออกกำลังกายควรทำให้ได้ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยอาจเป็นวันละประมาณ 1 ชั่วโมง วันเว้นวันการออกกำลังกายมีหลายรูปแบบให้ผลแตกต่างกัน เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือวิ่ง ช่วยฝึกความทนของปอดและหัวใจสำหรับการออกกำลังกายใช้แรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก หรือซิทอัพ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่วนการเดินการทำงาน ทำอาชีพหรืองานอดิเรกที่ต้องออกแรง จัดเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง ซึ่งควรทำให้ได้ทุกวัน หรือเกือบทุกวัน หลักในการออกกำลังกายคือทำช้า ๆ มีช่วงพักและเมื่อเริ่มล้าให้หยุด

โดย oOfonOo [ 28 มี.ค. 2554 : 08:51:25 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป