"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
'ไดออกซิน' อีกภัยเงียบ 'ก่อมะเร็ง'

ขณะที่ในประเทศไทยเกิดความวุ่นวายโกลาหลเรื่อง "น้ำมันปาล์ม" น้ำมันพืชที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในชีวิตประจำวันของประชาชนส่วนใหญ่ ในอีกด้านทาง มกอช.-สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ออกมาระบุถึง 'สารอันตราย" ชนิดหนึ่งที่สามารถ 'ก่อมะเร็ง" ได้ ซึ่งในสหภาพยุโรปมีการพบสารนี้เจือปนอยู่ในน้ำมันพืช-ไขมันพืชที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ โดยมีการเตือนผู้ผลิตอาหารสัตว์ในไทยให้ระมัดระวัง

สารอันตรายที่ว่านี้คือ 'ไดออกซิน"

สารอันตรายชนิดนี้ถ้ามีการปนเปื้อนในปริมาณมาก ๆ ในอาหารสัตว์ มันสามารถจะข้ามสู่ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเนื้อ นม ไข่ ซึ่งจะ ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโต ระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบฮอร์โมน และที่สำคัญคือสามารถที่จะ ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้ โดยในอดีตผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในไทยต้องส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปตรวจหาสารไดออกซินในต่างประเทศ แต่ปัจจุบันในประเทศไทยก็สามารถจะตรวจหาสารชนิดนี้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องดี

"ไดออกซิน เป็นชื่อเรียกกลุ่มสารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วในห้องปฏิบัติการ ว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของเซลล์มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดเป็นเซลล์มะเร็ง" ...เป็นบางส่วนจากข้อมูลของ เอสจีเอส (ประเทศไทย) ซึ่งสามารถตรวจหาการปนเปื้อนของสารไดออกซินได้

ทั้งนี้ ทางองค์กรที่สันทัดกรณีองค์กรนี้ระบุว่า...ไดออกซินเป็นผลพลอยได้ในระหว่างการสังเคราะห์สารเคมีจำพวกที่นำไปผลิตสารฆ่าวัชพืช ยาฆ่าแมลง (ดีดีที) และน้ำยาอาบรักษาเนื้อไม้ ป้องกันปลวกและรา

และร้อยละ 95% ของไดออกซินที่มีในโลก เกิดขึ้นจากการเผาผลิตภัณฑ์พลาสติกจำพวกพีวีซี (Polyvinyl Chloride : PVC) ที่มีการสันดาปไม่สมบูรณ์ หรืออุณหภูมิไม่เกิน 800 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะการเผาขยะที่มีพลาสติก หรือเผาเศษไม้ที่มีการอาบน้ำยารักษาเนื้อไม้ เป็นต้น

สำหรับการตรวจวิเคราะห์สารไดออกซิน สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารไดออกซินในอากาศจากปล่องระบาย, อากาศในบรรยากาศ, น้ำ, กากของเสีย, อาหารสัตว์, อาหารแช่แข็ง

ขยายความเกี่ยวกับ 'พิษภัยของไดออกซิน" ทางเอสจีเอสแจกแจงว่า.ความเป็นพิษของไดออกซินนั้น มีทั้งในรูปแบบ พิษร้ายแรงที่ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน และ พิษสะสม โดยสะสมอยู่ในสัตว์หลายประเภท ซึ่งหากเป็นสัตว์ในห่วงโซ่อาหาร เมื่อคนนำมาบริโภค บริโภคผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากสัตว์เหล่านี้ ก็จะได้รับสาร

เมื่อคนได้รับสารไดออกซิน ผลกระทบที่ตามมาก็คือ...เมื่อสารนี้รวมตัวกับเอนไซม์ไซโตโซลิค แล้วเคลื่อนย้ายสู่นิวเคลียส จะมีผลรบกวนการทำงานของร่างกาย และ เพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งในตับและไต

นอกจากนี้ ยัง มีผลต่อการทำงานของระบบไทรอยด์ ต่อมต่าง ๆ ระบบภูมิคุ้มกัน การแพร่กระจายของสารเป็นสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองหดหรือตีบ ซึ่งในสัตว์ทดลอง อาทิ หนู มีปฏิกิริยาโต้ตอบแบบเฉียบพลัน

ไม่เท่านั้น ยังมีผลต่อพันธุกรรม ซึ่งได้มีการทดลองผลของไดออกซินที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ในสัตว์ทดลองจำพวกหนู เช่น หนูแฮมสเตอร์ หนูบ้าน และหนูนา พบว่า ปริมาณไดออกซิน 1-3 ไมโครกรัม จะก่อให้เกิดผลเกี่ยวกับการทำงานของไต มีผลต่อการขับน้ำออกจากร่างกาย



โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 1 มี.ค. 2554 : 08:50:12  

ความเห็นที่ 1
อย่างไรก็ตาม กับเรื่องการแพร่กระจายของ "เซลล์มะเร็ง" นั้น แม้ว่าอาจจะไม่ปรากฏ นอกเสียจากมีปริมาณ "ไดออกซิน" เข้าสู่ร่างกายและเกิดการสะสมเป็นเวลานาน แต่ก็ใช่ว่าจะประมาทได้

ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ที่มีส่วนในการผลิตสารไดออกซิน จึงต้อง มีความรับผิดชอบ ในการป้องกันภัยไดออกซินที่อาจเกิดกับผู้บริโภค ผู้ใช้สินค้าหรือบริการ ซึ่งแม้แต่การเผาไหม้ การเผาขยะแบบไม่สมบูรณ์ ก็ทำให้เกิดไดออกซินและสารประกอบไดออกซินอื่น ๆ การเผาขยะแบบสมบูรณ์เท่านั้นจึงไม่ก่อให้เกิดไดออกซิน แต่ก็มีการประมาณการว่าการเผาไหม้เป็นแหล่งกำเนิดไดออกซินปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

การฟอกกระดาษ ให้ขาว คลอรีนและสารประกอบคลอรีนที่ใช้ในกระบวนการฟอกกระดาษ สามารถทำปฏิกิริยาก่อให้เกิดเป็นสารไดออกซิน, การผลิตสารเคมี กลุ่มคลอรีเนเต็ด ไฮโดรคาร์บอน ก็ก่อให้เกิดสารไดออกซิน และ รถยนต์ ก็ก่อสารไดออกซินได้ โดยปริมาณสารนี้จากรถยนต์ขึ้นอยู่กับปริมาณ คลอรีนในน้ำมันทั้งนี้ ในส่วนของ ภาครัฐ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบันมีข้อกำหนดเรื่องการควบคุมการระบายไดออกซินจากปล่องเตาเผา มูลฝอยชุมชน สำหรับเตาเผากากของเสีย ปล่องเตาเผาขยะติดเชื้อ อยู่ในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการ เข้มงวดกวดขัน คือกุญแจสำคัญที่จะป้องกันภัยนี้

"ไดออกซินเป็นสารที่มีในสิ่งแวดล้อม และละลายได้ดีในไขมัน จึงสะสมได้ดีในสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะสัตว์ที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ เมื่อคนบริโภคก็จะทำให้ได้รับไดออกซิน"...ทางเอสจีเอสระบุ

ผู้ประกอบการ-ภาครัฐ...คือตัวจักรหลักที่จะสกัดภัยนี้

เพราะผู้บริโภคคงไม่อาจรู้...ว่าซื้อ-ว่ากินภัยเข้าตัว!!!.



โดย oOfonOo [ 1 มี.ค. 2554 : 08:50:31 ]

Member
205 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป