"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
เผยคนไทยเสี่ยงโรค "ข้อไหล่ติด และเส้นเอ็นหมุนข้อไหล่ฉีกขาด"


ข้อไหล่ของคนเราประกอบไปด้วยกระดูก 3 ชิ้น คือ กระดูกต้นแขน กระดูกสะบัก และกระดูกไหปลาร้า มาประกอบกันเป็นข้อไหล่ ข้อไหล่เป็นข้อดีที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย และเป็นข้อที่ถูกใช้งานมากจึงทำให้มีปัญหาได้

ซึ่ง นพ.วิชาญ กาญจนถวัลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รพ.พญาไท เปิดเผยว่าหากพูดถึงการบาดเจ็บของข้อไหล่ และการผ่าตัดจากการส่องกล้อง สิ่งนี้เป็นวิวัฒนาการค่อนข้างใหม่ ในวงการแพทย์ไทย เราเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งก่อนหน้านี้การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องมีค่อนข้างน้อย ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า อุปกรณ์ และเครื่องมือถูกพัฒนาขึ้นทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ส่วนโรคที่เกิดขึ้นกับข้อไหล่มีหลายโรค ตั้งแต่ข้อไหล่หลุด เส้นเอ็นฉีกขาด และโรคที่พบบ่อยในคนไทย คือ เส้นเอ็นหมุนข้อไหล่ฉีกขาดสำหรับโรคที่พบบ่อยในผู้มีอายุระหว่าง 40-60 ปี และผู้เป็นโรคเบาหวานมีอัตราเสี่ยงมากกว่าคนปกติถึง 6 เท่า และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 7-8 เท่า ซึ่งส่วนใหญ่มาจากความเสื่อม นอกจากนี้อาจมาจากอุบัติเหตุหรือการยกของหนักเกินกำลัง การเล่นกีฬาบางชนิด อาทิ ตีกอล์ฟ, แบดมินตัน, เล่นเทนนิส และอีกประการหนึ่ง คือ เกิดจากสรีระของกระดูกที่ได้มาตั้งแต่กำเนิดซึ่งข้อนี้เป็นปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ สำหรับโรคข้อไหล่ติดและเส้นเอ็นหมุนข้อไหล่ฉีกขาด อาการแรกเริ่มจะคล้ายกันแต่โรคที่เกิดขึ้นจะเป็นคนละโรค สำหรับประชากรชาวไทยพบว่าข้อไหล่ติด พบ 20-30% ส่วนโรคเส้นเอ็นหมุนข้อไหล่บาดเจ็บจะพบราว 70% และ เมื่อเทียบโรคนี้ใน 10 ปีที่แล้ว อัตราคนไข้ในโรคนี้ ก่อนปี 2000 ผ่าตัดปีละ 2-3 รายเท่านั้น แต่ปัจจุบันปีหนึ่งมีคนเข้ารักษาด้วยการผ่าตัดถึงปีละ 300-400 ราย

อาการแรกเริ่มของโรค คือ ปวดไหล่ นอนลำบาก ตะแคงตัวแล้วเจ็บ ยกแขนหรือเอื้อมมือไปข้างหลังแล้วเจ็บ ขยับแขนได้เล็กน้อย ในการรักษาเบื้องต้น ผู้ป่วยต้องพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา ในบางรายทานยา และกายภาพบำบัด แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดส่องกล้องเพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องมีจุดมุ่งหมาย คือ ให้ผู้ป่วยมีอัตราการบาดเจ็บหลังผ่าตัดน้อยลง ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็วและกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้นการฟื้นฟูสมรรถนะในร่างกายก็รวดเร็วขึ้นเพราะถ้าปล่อยให้อาการเป็นมากเกินไปจะไม่สามารถผ่าตัดโดยการส่องกล้องได้จะต้องผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ ซึ่งการผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ หลังผ่าตัดจะเจ็บปวดมาก และยังต้องพักฟื้นนาน ทาง รพ.พญาไท มีเครื่องมือ อุปกรณ์ ครบครัน มีทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะให้การรักษา แนะนำ และวินิจฉัย ซึ่งทีมแพทย์และบุคลากรแต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญ และมีความชำนาญเฉพาะทางโดยตรงเพื่อผลการรักษาที่ดีและแม่นยำกายในท่วงท่าที่ช่วยพยุงหัวไหล่ และพยายามทำร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ถือว่าเป็นการป้องกัน เพียงแต่ว่าคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอาจต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น คนเป็นเบาหวาน ผู้สูงอายุ คนที่มีกิจกรรมหนักๆ ประจำ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่อยู่ใกล้ชิดและเกิดขึ้นกับเราได้ตลอดเวลา หากรู้เท่าทันและหมั่นดูแลสุขภาพแต่เนิ่นๆจะช่วยให้ห่างไกลจากความเจ็บปวดดังกล่าว อย่าปล่อยให้อาการปวดเป็นมากขึ้น เพราะถ้าเข้ารับการปรึกษาและรักษาช้า อาการของโรคจะมากขึ้นด้วย

โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 28 ก.พ. 2554 : 08:59:48  

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป