"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
ชวนเยาวชนสร้างหนังสั้นดึงเนื้อจากบทความ"ดร.ป๋วย"


"เมื่อผมอยู่ในครรภ์ของแม่ ผมต้องการให้แม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์และได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่องสวัสดิภาพของแม่และเด็กผมไม่ต้องการมีพี่น้องมากอย่างที่พ่อแม่ผมมีอยู่ และแม่จะต้องไม่มีลูกถี่นักพ่อกับแม่จะแต่งงานกันถูกกฎหมายหรือธรรมเนียมประเพณีหรือไม่ ไม่สำคัญแต่สำคัญที่ พ่อกับแม่ต้องอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข ทำความอบอุ่นให้ผมและพี่น้อง

ในระหว่าง 2-3 ขวบแรกของผม ซึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโตในระยะที่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผมกับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาวหรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต ถ้าผมมีสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่ผมจะรวย หรือจนจะอยู่ในเมืองหรือชนบทแร้นแค้นเมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ผมต้องการงานอาชีพที่มีความหมาย ทำให้ได้รับความพอใจว่า ตนได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สังคมบ้านเมืองที่ผมอาศัยอยู่จะต้องมีขื่อมีแป ไม่มีการข่มขู่ กดขี่ หรือประทุษร้ายกันประเทศของผมควรจะมีความสัมพันธ์อันชอบธรรม และเป็นประโยชน์กับโลกภายนอก ผมจะได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความคิดและวิชาของมนุษย์ทั้งโลก และประเทศของผมจะได้มีโอกาสรับเงินทุนจากต่างประเทศมาใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมผมต้องการให้ชาติของผมได้ขายผลิตผลแก่ต่างประเทศด้วยราคาอันเป็นธรรมในฐานะที่ผมเป็นชาวไร่ชาวนา

ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควรสำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้ยืมเงินมาขยายงาน มีโอกาสรู้วิธีการทำกินแบบใหม่ๆ มีตลาดดีและขายสินค้าได้ราคายุติธรรมในฐานะที่ผมเป็นกรรมกร ผมก็ควรจะมีหุ้นมีส่วนในโรงงาน บริษัท ห้างร้านที่ผมทำอยู่ .....ฯลฯ เราตถาคตไม่เห็นความสวัสดีอื่นใดของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา เรื่องตรัสรู้ ความเพียร ความสำเร็จอินทรีย์ และความเสียสละ".....ข้างต้นคือส่วนหนึ่งของบทความ "คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวังจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" โดยดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ยกมาให้อ่านกันเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อให้พอเห็นแนวว่ากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นโดยเยาวชนที่เสนอตัวเข้าร่วมจะได้รับการขยายความต่อไปเป็นภาพเป็นเสียงอย่างไรกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นด้วยฝีมือเยาวชนไทยในโครงการนี้นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของเมืองไทย

เมื่อแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์โดยโครงการ "ปิ๊งส์ 54" สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือเครือข่ายศิลปินเพื่อการปฏิรูป (คสป.) และกลุ่มอัศจรรย์ภาพยนตร์ จัดโครงการประกวดหนังสั้น "คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวังจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" เพื่อปลุกพลังคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาร่วมถ่ายทอดจินตนาการ ที่อาจเป็นจุดเปลี่ยนให้กับสังคมไทยได้ในอนาคตอันใกล้


โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 21 ก.พ. 2554 : 010:55:51  

ความเห็นที่ 1
นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการ คสป. กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ที่เห็นว่ากลุ่มสมัชชาฯมีเครือข่ายหลากหลาย และหนึ่งในนั้นคือ คสป. จึงอยากให้ช่วยกันคิดว่าเราจะมีบทบาทในการสร้างจินตนาการเพื่อปฏิรูปประเทศไทยได้อย่างไร จากการคิดร่วมกันก็พบว่า ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยบทความเรื่อง"คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบทความที่ไม่อาจลืมได้ดังนั้น จึงได้หยิบยกบทความดังกล่าวมาเป็นหัวข้อของการประกวดหนังสั้นครั้งนี้ เพื่อให้สัจธรรมความจริงถูกเผยแพร่ไปได้กว้างขวางขึ้น "บทความนี้สื่อให้เห็นถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งตาย และเป็นความหวังของคนในชาติที่ต้องการมีชีวิตตามบทความนี้ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ประชาชนมีสิทธิ์เรียกร้องต่อรัฐ ดังนั้นแม้เวลาจะเนิ่นนานมากแล้ว แต่บทความนี้ก็ยังไม่ตาย และยังคงเป็นเรื่องจริงในสังคมปัจจุบัน ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นการจุดประกายการปฏิรูปสังคมไทยได้อย่างดียิ่ง"นายเนาวรัตน์ กล่าว

ด้าน นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกฯ กล่าวว่า พลังเยาวชนเป็นพลังมหาศาลที่จะร่วมเปลี่ยน แปลงสังคมไทย แต่ปัจจุบันกลับมีช่องทางให้เยาวชนได้สร้างสรรค์จินตนาการต่างๆ ผ่านสื่อน้อยมากจึงขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อนำบทความดังกล่าวมาสร้างเป็นภาพยนตร์สั้นความยาวไม่เกิน 10 นาที โดยผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะนำไปฉายในงานสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 24-26 มีนาคมนี้ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ขณะเดียวกันจะนำไปแพร่ภาพผ่านสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย และเคเบิลทีวีด้วย ขณะที่นายพัฒนะ จิรวงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์สั้นและตัวแทนกลุ่มอัศจรรย์ภาพยนตร์กล่าวว่า อ่านบทความดังกล่าวแล้วรู้สึกคิดถึงสังคมในปัจจุบันมาก ซึ่งถือเป็นบทความที่เนื้อหาดี และสามารถแตกยอดความคิดในการนำมาทำเป็นภาพยนตร์สั้นได้หลายเรื่อง ปิดท้ายที่นายพรชัย วิริยะประภานนท์นักวิจารณ์ภาพยนตร์ และนักเขียนอิสระกล่าวว่า บทความดังกล่าวนี้ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็สามารถอ่านได้ และเข้าใจได้ง่าย เพราะเรื่องทั้งหมดเกี่ยวพันกับชีวิตของเราทุกคนเมื่อเราอ่านบทความนี้แล้วประทับใจในส่วนใดก็ให้หยิบส่วนนั้นมาทำเป็นภาพยนตร์สั้นจะดีที่สุด

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ





โดย oOfonOo [ 21 ก.พ. 2554 : 010:56:53 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป