"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
แพ้อากาศ...น้ำมูกไหล คันจมูก จาม

ผู้ที่มีอาการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอันเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ผนังกั้นช่องจมูกคด โรคเหล่านี้สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้อากาศได้มากขึ้น นอกจากนี้ ภาวะตึงเครียดและวิตกกังวล ก็เป็นสาเหตุกระตุ้นให้มีอาการของโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน

อาการของโรคแพ้อากาศ

จะมีอาการคันจมูก คันคอ เพดานปาก หรือหู จามบ่อยๆ และอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย มีน้ำมูกไหลใสๆ จมูกไม่ได้กลิ่น หรืออาจจะมีหอบ ถ้าเป็นมากๆ ในบางครั้ง คัดจมูก เสียงเปลี่ยน มีไอเป็นพักๆ และมีน้ำมูกไหลลงคอ มีคันบริเวณขอบตาและมีน้ำตาไหล ขอบตาคล้ำ การรักษาและการป้องกันการเกิดโรคแพ้อากาศ

ควรหลีกเลี่ยง และกำจัดสิ่งที่พบว่าตนเองแพ้ ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาที่ถูกต้อง ให้ฉีดวัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ (Immunotherapy) อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่มีปัจจัยกระตุ้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น เมื่อพบอาการที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น พร้อมทั้งรับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังภายหลัง

คำแนะนำก่อนการทดสอบภูมิแพ้

- คืนก่อนมาโรงพยาบาล พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ประมาณ 8 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ทุกประเภทก่อนมาทดสอบภูมิแพ้ 1 วัน
- รับประทานอาหารให้เรียบร้อย ก่อนมาทำการทดสอบภูมิแพ้
- งดรับประทานยากลุ่มภูมิแพ้ ยาแก้หวัด ยาแก้ไอ ยาแก้คัน ก่อนถึงวันนัดทดสอบภูมิแพ้ 7-10 วัน (ยาประเภทพ่นใช้ได้ตามปกติ)
- กรุณาใส่เสื้อเปิดแขนกว้าง สามารถพับถึงไหล่ได้ เพื่อสะดวกในการทดสอบภูมิแพ้บริเวณแขน
- ระยะเวลาในการทดสอบประมาณ 30 นาที
- แจ้งโรคประจำตัวผู้ป่วยให้แพทย์ทราบทุกครั้งก่อนทำการทดสอบ
- ถ้าผู้ป่วยสงสัยว่า ตนเองจะตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการทดสอบภูมิแพ้ หรือทำการรักษา

โรคแพ้อากาศสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน คือ

1. เกิดจากพันธุกรรม

- ผู้ที่มีประวัติแพ้อากาศทางคุณพ่อและคุณแม่ อาจจะพบได้ในตัวของลูก 58%
- โรคแพ้อากาศสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ไม่เคยมีประวัติทางพันธุกรรมอยู่ประมาณ 12.5%

2. สารภายนอกที่ก่อให้เกิดอาการของโรคแพ้อากาศเช่น ขนนก นุ่น ฝ้าย ฝุ่นบ้าน ฝุ่นโรงงาน ฝุ่นริมถนน เชื้อราต่างๆ อากาศอับชื้น สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หนู กระต่าย ไรฝุ่น และแมลงบางชนิด วัสดุบรรจุในเฟอร์นิเจอร์ เช่น ใยมะพร้าว เป็นต้น

3. ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการที่แพ้อากาศ โรคแพ้อากาศ ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการได้กับอวัยวะต่างๆ เช่น จมูก หลอดลม ผิวหนัง และตา ในกรณีที่มีอาการทางจมูกมักจะเรียกว่าแพ้อากาศ

โรคแพ้อากาศมี 2 ชนิด

1. โรคที่เกิดอาการเฉพาะฤดูส่วนมากมักพบในฤดูหนาว ฤดูฝน (Seasonal allergic rhinitis)

2. โรคที่มีอาการตลอดทั้งปี (Perennial allergic rhinitis) พบได้กับทุกเชื้อชาติ และทุกวัย ในวัยเด็กมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ส่วนผู้ใหญ่มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 26 ม.ค. 2554 : 13:03:16  

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป