เหตุการณ์เกี่ยวกับรถตู้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนทั่วประเทศ สิ่งหนึ่งที่จะทำได้เมื่อต้องขับรถ นั่นคือ การป้องกันตัวเอง และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ทักษะจึงเป็นเรื่องที่น่าขบคิดและหาแนวทางป้องกันไม่ใช่แค่คนขับ แต่ยังรวมถึง ถนน ผู้ประกอบการ และจิตสำนึกภายใน
ผศ.ดร.ปานเพชร ชินินทร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มองว่า ตอนนี้รถแต่ละอย่างมีความแตกต่างกันและรายละเอียดไม่เหมือนกัน ส่วนที่เป็นองค์ประกอบให้เกิดอุบัติเหตุก็คือ สภาพถนน วัฒนธรรมคนไทยที่ยังไม่ให้ความสำคัญในการใช้รถ กฎหมายที่ใช้อยู่ยังไม่ครอบคลุมอย่างได้ผล เกิดอุบัติเหตุหรือไม่เกิดจะขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้
ถนนในเมืองไทยส่วนใหญ่ทำโดยหลบหมู่บ้าน ทำให้โค้งคดเคี้ยว การออกแบบอาจไม่เอื้อเวลารถเข้าโค้ง เวลาเหวี่ยงถ้าโค้งไม่รับกับความเร็วรถอาจหลุดโค้ง การบังคับลำบาก ที่ผ่านมาสภาพพื้นผิวปรับปรุงตามงบประมาณที่มี เช่น ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ- นครสวรรค์ แรก ๆ ยังดี แต่พอเข้าจังหวัดตากเริ่มแย่ เพราะสภาพถนนถูกรถสิบล้อวิ่งประจำ งบประมาณใช้แก้ต้องดูจากที่สภาพการใช้งาน ถ้าพื้นไม่ดีก็เกิดปัญหาอีก ส่วนเส้นถนนเลี่ยงเมือง ก็เป็นเนินขึ้นลงไม่มีความปลอดภัย หากวิ่งตกหลุมยางระเบิด รถเราเองก็จะเสียหายไม่มีใครรับผิดชอบ!
สถานการณ์การชนของรถตอนนี้ ส่วนหนึ่งมาจากเครื่องยนต์ของรถแต่ละคันที่เน้นเร็วและแรง สมัยก่อนใช้แค่ 1,200ซีซี ถือว่าดีมากแล้ว เดี๋ยวนี้ 1,500-3,000ซีซี เมื่อแรงมากน้ำหนักตัวรถเท่าเดิม ได้ทั้งเร็วและแรง ขณะที่มอเตอร์ไซค์ยังเท่าเดิม ถ้าเวลาเกิดเหตุแต่ก่อนเบากว่านี้ เหตุส่วนใหญ่เกิดจากรถวิ่งเร็วและมารยาทการขับรถไม่มี เวลารถวิ่งเร็ว ต้องเบรกระยะไกลขึ้น
การเกิดจากคนขับ และเกิดจากทักษะการขับ ถ้าขับเร็วแล้วไม่มีประสบการณ์ ไม่สามารถแก้ไขเหตุเฉพาะหน้าได้ ถ้าตกใจยิ่งไม่อยากเข้าใกล้อะไร รถยิ่งเข้าไปใกล้ เพราะมือเราแข็ง บางคนมัวแต่เก็บของในรถไม่ดูทาง แค่พริบตาเดียว ถ้าวิ่ง 120กิโลเมตรต่อชั่วโมง กะพริบตา 1ทีเราวิ่งไปไกลหลายเมตรแล้ว
บางครั้งอุบัติเหตุเกิดจากสาเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ นั่นคือ บางคันเจอหมาตายกลางถนน แล้วต้องหักรถหนี ทำให้เกิดอุบัติเหตุ รถทุกคันมีมุมอับ กระจกบางทีอาจมองไม่เห็น คนยิ่งไม่มีทักษะ บางคนไม่ดูกระจกข้างและกระจกมองหลัง
การกะพริบไฟบางคนกะพริบไล่ อาจทำให้คู่กรณีหมั่นไส้ จนแกล้งกันทำให้เกิดอุบัติเหตุ รถมีน้ำหนักเวลาหยุดรถ เดิมเครื่องยนต์ส่งกำลังให้ล้อขับเลยตัดเครื่องยนต์ก่อน เมื่อเปลี่ยนจะมีแรงพุ่ง ถ้าเกียร์ธรรมดาเวลาจะหยุด รถต้องแตะเบรกก่อนไปเหยียบคลัตช์ คนไทยเกือบร้อยละ 90หัดขับรถไม่ผ่านโรงเรียน
ทักษะในการวิ่งปกติ ทักษะในการตัดสินใจ ทักษะบนถนนที่เราไม่สามารถรู้ได้จึงต้องมี เวลาลงเขาไม่ใช่เหยียบเบรกตลอด รถยนต์มีเบรกน้ำมันกับเบรกลม เบรกลมมีโอกาสแตกถ้าคนซ่อมไม่เป็น ข้อต่อหลุด เวลาเหยียบเบรกกระแทกแรง ๆ จะมีแรงลมกระแทกหลายเท่า ลงภูเขาต้องใช้เกียร์ต่ำ ประมาณเกียร์ 3หรือ 2ค่อย ๆ เร่ง บางคนใช้เกียร์ว่าง เมื่อแรงดึงดูดทำให้รถวิ่งเร็วเพราะมีแรงโน้มถ่วง ปล่อยลงแล้วเบรกอาจเบรกแตกได้ เวลาซ่อมเบรกส่วนอื่นเหมือนเดิมเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เสียหาย
โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 14 ม.ค. 2554 : 09:07:12