"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
มาออกกำลังกายทางน้ำกันเถอะ!



การออกกำลังกายในน้ำไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งในต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจมาเป็นเวลานับ 10 ปีแล้วโดยการออกกำลังกายในน้ำ ขอแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1. แอโรบิกในน้ำ (Aqua aerobics) เป็นลักษณะที่มีแรงกระแทกต่ำ เมื่อเทียบกับการเต้นแอโรบิกบนบก สามารถช่วยในการเผาผลาญไขมัน และเพิ่มความสามารถ หรือความทนทานของระบบหัวใจและทางเดินหายใจได้เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดต่างๆ การแอโรบิกในน้ำ ประมาณ 30 นาที สามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้อย่างต่ำประมาณ 300 แคลอรีเลยทีเดียว ในการแอโรบิกแต่ละครั้ง จะประกอบไปด้วยการเดิน-วิ่ง ย่อ-กระโดด ยกแขน - เตะขา และรวมการเต้นรำเข้าไปด้วย ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีความฟิตทุกประเภท ตั้งแต่ไม่ค่อยแข็งแรงไปจนถึงแข็งแรงมาก

2. ออกกำลังกายในน้ำ (Aquaexercise) เป็นการรวมการออกกำลังกายแบบการต้าน (Resistance)และการฝึกฝนเพื่อความแข็งแกร่ง (Strength Training)เข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มความกระชับและความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ โดยอาศัยแรงต้านทานจากน้ำหรืออุปกรณ์เสริมต่างๆ

การออกกำลังกายในน้ำจะได้ผลดีมากในการสร้างเสริมสุขภาพไม่แพ้การออกกำลังกายบนบก ปัจจุบันคนทั่วไปยังมีมโนภาพของการออกกำลังกายในน้ำ คือการว่ายน้ำที่รวดเร็ว มีการแข่งขันหรือว่ายน้ำตามจังหวะที่คล่องแคล่ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ แต่การออกกำลังกายในน้ำเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจะไม่เน้นที่ความรวดเร็วหรือปราดเปรียว แต่เน้นการเคลื่อนไหวที่เรียบง่าย มีแรงต้นทานต่อการเคลื่อนไหวและออกกำลังต่อเนื่องนาน 30 - 60 นาทีต่อครั้ง เป็นวิธีที่ได้ประโยชน์มากแก่สุขภาพสำหรับคนทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ คนที่เป็นโรคอ้วน ข้อเข่าเสื่อม ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว กลุ่มเด็กออทิสติก หญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยทอง เป็นต้น ถือเป็นการช่วยเหลือฟื้นฟูที่รู้จักในอีกชื่อคือ "Aquatic Therapy" ด้วย

นอกจากนี้ได้มีการออกแบบอุปกรณ์เพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกายในน้ำ คือ รองเท้าซึ่งทำการเพิ่มพื้นที่โดยใช้แผ่นโฟมรองด้านใต้เพื่อเพิ่มแรงต้านทานขณะออกกำลังกาย และได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการก้าวขึ้น – ลงในน้ำลึกด้วยรองเท้า ที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลึก ด้วยรองเท้าที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา และการทรงตัวในผู้สูงวัยเพศหญิงอายุ 56 - 65 ปี พบว่า ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มฝึกก้าวขึ้น - ลงในน้ำลึกด้วยรองเท้า และกลุ่มฝึกก้าวขึ้น - ลงในน้ำด้วยเท้าเปล่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถนำโปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำทั้งสองรูปแบบนี้ ไปประยุกต์ใช้กับหญิงวัยผู้ใหญ่ได้


โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 13 ม.ค. 2554 : 09:12:30  

ความเห็นที่ 1



ทั้งนี้จากคุณสมบัติของน้ำข้างต้น ทำให้การออกกำลังกายในน้ำมีข้อดีหลายประการพอสรุปได้ดังนี้คือ

1. การออกกำลังกายในน้ำสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหายใจและการไหลเวียนของโลหิต เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกประเภทอื่นๆ

2. สามารถสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง

3. สามารถเพิ่มหนุนการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ ทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วและมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งคุณสมบัติทั้งสามประการนี้เป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้การออกกำลังกายในน้ำไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเอ็นและข้อเนื่องจากสภาพไร้น้ำหนัก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการออกกำลังในน้ำมีความเหมาะสมที่เป็นการออกกำลังเพื่อสุขภาพ

สำหรับข้อห้ามของการออกกำลังกายในน้ำ ได้แก่

- กรณีมีแผลที่ผิวหนัง แผลติดเชื้อหรือผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดที่ยังไม่ตัดไหม

- ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ไม่สามารถกลั่นอุจจาระหรือปัสสาวะได้

- โรคทางอายุรกรรมที่ยังควบคุมไม่ได้ เช่น ลมชัก โรคหลอดเลือดหัวใจดิบขั้นรุนแรง เป็นต้น

- ผู้ที่มีปัญหาแก้วหูทะลุไม่ควรลงน้ำอาจนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงหรือเป็นอันตรายได้

- ผู้ที่มีการสูญเสียการรับรู้อุณหภูมิที่ผิวหนัง ไม่รู้ร้อนหรือเย็น ส่วนผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นไม่เป็นข้อห้ามหรือข้อจำกัดของการออกกำลังโดยสามารถใส่ชูชีพขณะออกกำลังกายได้


โดย oOfonOo [ 13 ม.ค. 2554 : 09:13:34 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป