จากงานวิจัยพบว่าหากใช้ติดต่อกันนาน 2 เดือน สามารถช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ถึง 60% และหากใช้ร่วมกับการออกกำลังกาย จะสามารถช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ลงถึง 62% และที่สำคัญช่วยทำให้คนเลิกบุหรี่ได้ถึง 60-70% หากใช้ร่วมกับการออกกำลังกาย ผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบเคี่ยว นอกเหนือจากจะทำให้เลิกบุหรี่แล้ว ยังมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น เลือดจะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ที่คั่งค้างในปอดลดลงอย่างเห็นได้ชัด และที่สำคัญมีผลข้างเคียงในการเลิกบุหรี่ เช่น กระวนกระวาย สมาธิแปรปรวนหรือหงุดหงิดน้อยมาก
และในปัจจุบันทีมงานวิจัยได้มีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านสารออกฤทธิ์สำคัญที่ช่วยเสริมคุณประโยชน์ของสมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบการเคี่ยว โดยทุนวิจัยจาก ศจย. และ สสส. ในระหว่างปี พ.ศ. 2552-2553 พบว่าในแต่ละส่วนของหญ้าดอกขาวมีสารสำคัญที่แตกต่างกัน โดยที่โดดเด่นคือ ใบ จะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวม (total antixidant capacity) ที่สูงที่สุด โดยมีสารประเภทฟีนอลิก (total phenolics) และสารกลุ่ม Catechin, Flavonoid, Isoflavone เมื่อเปรียบเทียบกับดอก และก้าน นอกจากนี้แล้วสิ่งที่สำคัญที่อาจเป็นคำตอบของสมุนไพรหญ้าดอกขาวในการช่วยเลิกบุหรี่คือ ในสารสกัดหยาบจากใบและดอกที่ได้จากการเคี่ยวมีสารสำคัญคือ นิโคติน (nicotine) ในปริมาณต่ำ
ดังนั้นในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ที่ค่อยๆ เลิกบุหรี่ได้ โดยไม่มีอาการข้างเคียงนั้น อาจเป็นผลมาจากมีการทดแทนของสารนิโคตินในกระแสเลือดไม่ให้ขาดหายไปทันที แต่อย่างไรก็ตามการเลิกบุหรี่ที่ดีที่สุด นอกจากกการใชสมุนไพรหญ้าดอกขาวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยหันไปออกกำลังกายแล้ว ร่วมกับความตั้งใจเพื่อตนเองหรือบุคคลที่คุณรักจะช่วยเสริมทำให้เลิกบุหรี่ได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
วิธีการเตรียมสมุนไพรและการใช้เพื่อเลิกบุหรี่:
วิธีที่ 1. เคี่ยว
วิธีที่ 2. ชาชง
ความปลอดภัย
จากโครงการวิจัยเรื่องศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดหญ้าดอกขาวและผลต่อระบบประสาทสัตว์ทดลองเพื่อการเลิกบุหรี่ โดย ดร.ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุลและคณะ ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก ศจย. และ สสส.ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดหญ้าดอกขาวส่วนต่าง ๆ ในวิธีสกัดที่ต่างกันอย่างน้อยจำนวน 5 ตัวอย่างและศึกษาผลต่อระบบประสาทหนูขาว ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลิกบุหรี่ในสัตว์ทดลอง ผลการศึกษาความเป็นพิษเบื้องต้นของสารสกัดหญ้าดอกขาว (น้ำเคี่ยว) ส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ดอก ก้าน ใบและผสม (ดอก+ก้าน+ใบ) ในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัยค่อนข้างสูงจากการกินและการซึมผ่านทางผิวหนัง ไม่มีผลต่อการก่อความระคายเคืองผิวหนัง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ช่วยการอดบุหรี่จากน้ำเคี่ยวหญ้าดอกขาวส่วน ดอก ก้าน ใบ หรือส่วนผสม สรุปได้ว่ามีความปลอดภัยสูงทั้งจากการกินและการดูดซึมทางผิวหนัง
โดย oOfonOo [ 7 ม.ค. 2554 : 08:37:43 ]