"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
แก้ปัญหาพฤติกรรมรุนแรง


ปัญหาสังคมเสื่อมทรุดยาเสพติดระบาดทั่วบ้านทั่วเมืองยิ่งนับวันยิ่งเลวร้ายสุ่มเสี่ยงการเกิดพฤติกรรมรุนแรงใช้อาวุธร้ายประหัตประหารทั้งคู่อริและไม่ใช่คู่อริ ทำให้ผู้บริสุทธิ์โดนลูกหลงได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

กรณีขาโจ๋นักค้ายาเสพติดรายใหญ่ของภาคกลาง "โจ๊ก ไผ่เขียว-ชาญชัย ประสงค์ศิล" กับน้องชาย "จิ๊บ ไผ่เขียว-นพพล ประสงค์ศิล" ซิ่งรถมอเตอร์ไซค์ควงปืนไล่ยิงรถเก๋งชาวบ้านจนกระทั่งกระสุนเจาะเข้าที่ศีรษะ "น้องโตมี่-ด.ช.โภคิน ดีผิว" อายุ 12 ปีกลายเป็นเจ้าชายนิทรา 8 วันก่อนจะเสียชีวิต สร้างความสลดหดหู่สะเทือนใจแก่คนในสังคมกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องจับตาย "โจ๊ก ไผ่เขียว" มือปืนทมิฬ และบุกเข้ารวบตัว "จิ๊บ ไผ่เขียว" มือซิ่งรถมอเตอร์ไซค์กลางดึกวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา

ประเด็นร้อนของสังคม...และประเด็นร้อนฉบับนี้ขอสัมภาษณ์มุมมองความคิดเห็นของนักสุขภาพจิตมาสะท้อนพฤติกรรมโฉดของ 2 พี่น้องทมิฬมาตีแผ่ ดังต่อไปนี้ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายกสมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย

"พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงมีหลายรูปแบบและเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สำหรับพฤติกรรมรุนแรงการทำร้ายร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การกราดยิงรถยนต์ ปาหินใส่รถยนต์ การยิงตำรวจ นักเรียนตีกัน หรือการทำร้ายร่างกายคนในครอบครัว เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมรุนแรงแบบเดิมๆ นั้นจะเป็นการใช้ความรุนแรงกับคู่ขัดแย้ง หรือมีคู่อริของตนเองชัดเจน เช่น การทำร้ายกันของคนในครอบครัว การที่นักเรียนทำร้ายร่างกายคู่อริบนรถเมล์หรือตามท้องถนน เป็นต้น

แต่การใช้ความรุนแรงรูปแบบใหม่ที่เป็นปรากฏการณ์ของโลกแล้วลามเข้ามาสู่ประเทศไทย เช่น การที่นักเรียนขนอาวุธปืนบุกเข้าไปกราดยิงทำร้ายหรือสังหารเพื่อนนักเรียนหรือครูอาจารย์ที่ไม่ใช่คู่อริของตนเองในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย การไล่แทงนักเรียนในโรงเรียนที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น หรือจีน ทั้งนี้ กรณีที่ยิงปืนใส่รถยนต์โดยที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งของนายโจ๊กและจิ๊บนี้ ก็เป็นพฤติกรรมแสดงออกซึ่งความรุนแรงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเหมือนกับการปาหินใส่รถยนต์ด้วย โดยเหยื่อไม่ใช่คู่ขัดแย้งหรือคู่อริของตนเองเช่นกัน

ถามว่านายโจ๊กและนายจิ๊บเป็นบ้าหรือเป็นโรคจิตฟั่นเฟือนหรือไม่ตามรูปการและข้อมูลต่างๆ พอประเมินได้ว่าไม่น่าจะเป็นบ้าหรือจิตฟั่นเฟือน แต่หากจะประเมินให้ชัดเจน คงต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจนำนายจิ๊บที่ยังมีชีวิตอยู่ไปส่งกรมสุขภาพจิตแล้วส่งไปตรวจสอบที่สถาบันราชานุกูลต่อไป

พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงโดยไม่มีเป้าหมาย ไม่มีคู่อริของตัวเองชัดจนนั้น อาจมีปัญหาทางด้านสมอง เช่นการเสพยาเสพติดมาอย่างยาวนานก็ทำให้สติฟั่นเฟือนได้ หรืออาจเกิดจากความเครียด การมีความกดดันทางจิตใจ เกิดภาวะซึมเศร้าหรือมีปัญหาด้านบุคลิกภาพบางอย่างทำให้นำไปสู่การมีพฤติการณ์รุนแรงงานได้



โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 16 ธ.ค. 2553 : 08:51:43  

ความเห็นที่ 1
การแก้ปัญหาพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงกับสังคมคือ

1.การสร้างสรรค์สังคมให้ปลอดภัยจากการเกิดโอกาสการใช้ความรุนแรง เช่น การเข้มงวดกวดขันการใช้อาวุธปืนหรืออาวุธต่างๆ ของคนในสังคม ซึ่งหากมีมากเท่าใดยิ่งมีโอกาสเกิดความรุนแรงได้มากขึ้นเท่านั้น

2.กำจัดสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรุนแรง เช่น ยาเสพติดหรือเหล้าสุราและสิ่งมึนเมาต่างๆ

3.การพยายามทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตได้อย่างง่ายที่สุดเพราะทุกคนส่วนใหญ่มีปัญหาด้านจิตเวชที่ไม่ถึงขั้นเป็นโรคจิตกันทั้งนั้น โดยจัดให้มีบริการสุขภาพจิตในชุมชนใกล้บ้าน หรือคลินิกในที่ทำงาน เพื่อเปิดรับบริการสุขภาพได้ง่ายโดยไม่ต้องไปรับบริการที่โรงพยาบาลเท่านั้น"

กรณีที่ยิงปืนใส่รถยนต์ โดยที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งของนายโจ๊กและจิ๊บนี้ก็เป็นพฤติกรรมแสดงออก ซึ่งความรุนแรงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เหมือนกับการปาหินใส่รถยนต์ด้วย โดยเหยื่อไม่ใช่คู่ขัดแย้งหรือคู่อริของตนเองเช่นกัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ



โดย oOfonOo [ 16 ธ.ค. 2553 : 08:51:52 ]

Member
205 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป