เช่นเดียวกับ ความอดทน อดกลั้น และพยายามในการทำงาน ถ้าทำงานโดยปราศจากสิ่งเหล่านี้ เชื่อได้เลยว่าการทำงานจะไม่มีความสุข มีแต่ความกดดัน จนเกิดความเครียดตามมา จึงทำให้งานที่ออกมาไม่มีคุณภาพ นักเขียนนวนิยายอิงธรรมะท่านนี้แนะว่า ควรใช้ปัญญามองปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วพลิกกลับให้ปัญหาและความกดดันต่างๆ มาเป็นเครื่องมือในการฝึกและพัฒนาตัวเองให้เกิดปัญญา โดยการสังเกตจากการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
1. การพัฒนาพฤติกรรม ควรเรียนรู้ว่าเวลาติดต่อหรือสื่อสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เราเป็นคนอ่อนโยนหรือแข็งกระด้าง เราเป็นคนหยาบคายหรืออ่อนน้อม เราเป็นคนเข้มแข็งหรืออ่อนแอ เราสงบหรือว่าเรากำลังวุ่นวาย รวมถึงการพูดจาด้วยว่า เราใช้คำพูดแบบไหนในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน
2. การพัฒนาจิตใจ เราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า งานที่เราทำนั้น มันทำให้รู้สึกสดชื่น กระตือรือร้น และมีความสุขหรือไม่เมื่อใช้เวลาอยู่กับงาน เรามีจิตใจที่เมตตาและเอื้ออาทรต่อเพื่อร่วมงานมากน้อยแค่ไหน แม้กระทั่งลองสังเกตว่าเราแสดงจิตใจที่ละโมบเห็นแก่ตัวกับผู้อื่นหรือไม่ ฉะนั้น ถ้าอยากให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นทุนให้เกิดความสุขในการทำงาน ก็ต้องปรับเปลี่ยนจิตใจให้คิดถึงผู้อื่นมากขึ้น
3. การพัฒนาสติปัญญา จะเป็นการพัฒนาความชำนาญในหน้าที่การงานของตัวเอง เพราะเราได้พัฒนาความสามารถอยู่ตลอดเวลา และเมื่อเจอปัญหาบ่อยๆ ใจของเราจะเห็นความเป็นจริงของโลกอย่างถ่องแท้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่คงอยู่กับที่ ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน มันไม่มีอะไรแน่นอน การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง หรือโยกย้ายหน้าที่การงานมันก็สามารถเป็นได้เสมอ
โดย oOfonOo [ 3 ธ.ค. 2553 : 08:44:39 ]