"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
'ไฟไหม้-ไฟดูด’ ภัยร้อนฤดูหนาว

สภาพอากาศในหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนนี้จะ "แห้ง" เพราะเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งในช่วงฤดูหนาวนี้นอกจากจะต้องกลัวภัยหนาว-การเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ด้วยสภาพอากาศที่แห้ง...ก็ต้องกลัว "อัคคีภัย" ต้องกลัวภัยจากเหตุ "เพลิงไหม้-ไฟไหม้" รวมถึงภัย "ไฟดูด" จากเครื่องทำน้ำอุ่น...

ทั้งนี้ กล่าวสำหรับภัยในช่วงฤดูหนาวในลักษณะดังกล่าวนี้ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย ได้มีการจัดทำข้อมูลเตือนภัย ซึ่งโดยสรุปคือ... ฤดูหนาวเป็นช่วงที่สภาพอากาศและลมพัดแรง ทำให้ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเพลิงไหม้ที่ลุกลามอย่างรวดเร็วและยากต่อการควบคุม

ซึ่งข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันเพลิงไหม้ในช่วงสภาพอากาศแห้งคือ...จัดระเบียบบ้าน เพื่อให้ปลอดภัยจากเพลิงไหม้ โดยจัดวางสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่กีดขวางประตู หน้าต่าง บันไดบ้าน, วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟแล้วลุกลามได้รวดเร็ว เช่น กระดาษ หนังสือพิมพ์ ไม้ขีดไฟ เศษไม้ ต้องกำจัดหรือจัดเก็บให้ปลอดภัย, แยกเก็บสารเคมีที่ติดไฟง่ายในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก ห่างจากแหล่งความร้อนที่เป็นตัวเร่งให้เกิดเพลิงไหม้, เลือกใช้กระถางธูป เชิงเทียน และที่เขี่ยบุหรี่ประเภทที่เป็นภาชนะทนไฟ เพื่อป้องกันไฟลุกลาม

ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ในบริเวณแสงแดดส่องถึง ฝนสาด และใกล้แหล่งความร้อน พร้อมทั้งหมั่นสังเกตความผิดปกติของอุปกรณ์ หากสายไฟฉีกขาด บุบ บวม สีเปลี่ยน มีกลิ่นเหม็นไหม้ ให้จัดการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ในทันที, ไม่เสียบปลั๊กไฟหลายอันไว้บนเต้าเสียบเดียวกัน ไม่เสียบปลั๊กไฟค้างไว้เป็นเวลานาน เนื่องจากหากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

ติดตั้งระบบป้องกันเพลิงไหม้ ต่อสายดิน ติดตั้งระบบตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันเพลิงไหม้จากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร, จัดวางถังดับเพลิงเคมีในจุดที่หยิบใช้งานได้ง่าย และถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟและกริ่งสัญญาณเตือนไฟไหม้ในบริเวณที่เสี่ยงเพลิงไหม้ เช่น ห้องครัว ห้องพระ ห้องนอน

ข้อควรระวัง ต้องปิดวาล์วก๊าซ ดับไฟเตาหุงต้มอาหารและดับธูปเทียนให้สนิทก่อนออกจากบ้าน ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ จุดยากันยุงก่อกองไฟใกล้แหล่งเชื้อเพลิง หลีกเลี่ยงการเผาขยะในบริเวณที่ลมพัดแรง รวมถึงจัดเตรียมถังน้ำไว้ใกล้บริเวณที่เผาขยะ หากไฟลุกลามจะได้ควบคุมเพลิงได้ทันที


โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 2 ธ.ค. 2553 : 08:34:16  

ความเห็นที่ 1


นอกจากป้องกันก็ต้องใส่ใจเรื่องทางหนีทีไล่หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ด้วย โดย...
เก็บกุญแจประตูบ้าน ประตูเหล็กดัด ในจุดที่หยิบใช้งานได้สะดวก, มีเส้นทางหนีไฟ หรือมีทางเข้าออกบ้านหลายทาง และหากประตู-หน้าต่างติดตั้งเหล็กดัดให้ใช้แบบที่เปิดปิดได้อย่างน้อยห้องละ 1 บาน หากเกิดเพลิงไหม้จะได้หนีไฟได้ทัน กับเรื่อง "เหล็กดัด" นี่ "อย่าประมาท" ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตคากองเพลิงในบ้านเพราะเหล็กดัดไปเยอะแล้ว!! หลายครั้งมาแล้วที่เกิดเหตุเพลิงไหม้แล้วพบผู้เสียชีวิตติดอยู่ในบ้านหรืออาคาร ที่ติดตั้งประตูหน้าต่างเหล็กดัดอย่างมิดชิด เพราะไม่ได้ติดตั้งเหล็กดัดอย่างปลอดภัย จึงไม่สามารถอพยพหนีไฟได้ทัน

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรติดตั้งเหล็กดัดแบบถาวรในอาคารบ้านเรือนทั้งหลัง ควรติดตั้งเหล็กดัดประตู - หน้าต่างแบบที่เปิด - ปิดได้ด้วยการคล้องกุญแจหรือกลอนประตูอย่างน้อยห้องละ 1 บาน โดยมีช่องที่เปิดออกจากด้านในสู่ด้านนอกได้สะดวกในขนาดไม่ต่ำกว่า 60 x 80 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นช่องทางหนีไฟ

ขณะเดียวกัน ก็ต้องจัดเก็บกุญแจสำหรับเปิดประตู - หน้าต่างเหล็กดัดในจุดที่สามารถหยิบใช้งานได้ง่ายด้วย และต้องแจ้งให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวทราบถึงวิธีการเปิด – ปิดประตูเหล็กดัด และทราบบริเวณที่จัดเก็บกุญแจ รวมถึงหมั่นตรวจสอบ ซ่อมแซมให้กลอนประตูและกุญแจอยู่ในสภาพใช้งานได้ดีอยู่เสมอ

ทั้งนี้ สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทาง "ป้องกัน" และแนวทาง "หนี" กับกรณี "ไฟไหม้" ที่เกิดขึ้นง่ายในช่วงฤดูหนาวที่อากาศแห้ง และ ณ ที่นี้ก็จะเสริมข้อมูลเตือนภัยในช่วงฤดูหนาวของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอีกหนึ่งภัย นั่นคือ "ภัยไฟดูดเพราะเครื่องทำน้ำอุ่น" ซึ่งในช่วงฤดูหนาวที่อากาศหนาวนั้น หากใช้เครื่องทำน้ำอุ่นต้องเลือกซื้อ ติดตั้ง และใช้งานอย่างถูกวิธี มิฉะนั้นอาจก่อให้ "เกิดอันตรายถึงตาย" ได้!!

ไม่ควรซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นมือสองหรือเครื่องราคาถูกที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้งาน ควรซื้อเครื่องที่ได้มาตรฐาน มีใบรับประกันคุณภาพพร้อมเครื่องหมาย มอก. รับรอง การติดตั้ง - โยกย้าย ต้องให้ช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญดำเนินการ เลือกใช้สายดินและสายไฟที่มีขนาดเหมาะสมกับเครื่อง ติดตั้งเครื่องป้องกันไฟดูด ตัวตัดไฟฟ้าหรือเบรกเกอร์ จุดที่ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นต้องอยู่ในระดับสูงกว่าฝักบัว ตำแหน่งสวิตช์ไฟไม่อยู่ใต้หม้อน้ำร้อน เพราะหากหม้อต้มน้ำร้อนรั่ว น้ำจะหยดใส่สวิตช์ไฟและไหลเข้าเครื่อง จนอาจทำให้ถูกไฟดูดเสียชีวิตได้ที่ว่ามาก็เป็นภัยร้ายเกี่ยวกับ "ไฟ - ไฟฟ้า" ที่อย่ามองข้ามและช่วงฤดูหนาวยิ่งต้องใส่ใจระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษการ "ประมาท - เลินเล่อ" อาจถึงกับ "หมดตัว - ตาย!!"


โดย oOfonOo [ 2 ธ.ค. 2553 : 08:38:57 ]

Member
205 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป