"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
อาหารต้านหนาว

ใกล้หน้าหนาวแล้ว คนอยู่กรุงร้อนตลอดเวลามักถามหาลมหนาว หรือไม่ดั้นด้นขึ้นดอยไปคอยให้ลมหนาวพัดผ่านผิวกายเป็นที่ระลึก สักนิดหน่อยก็ยังดี...
เมืองไทยถือว่าโชคดี แม้จะไม่ค่อยหนาว มีแต่ร้อนกับร้อนกว่า แต่อากาศก็ไม่แปรปรวนมาก ไม่หนาวมาก ไม่ร้อนจัดจนขาดใจตาย (เพราะชินแล้ว) ในบางเมืองของบางประเทศ เช่น เมลเบิร์น คนเคยอยู่บอกว่า วันหนึ่งบางทีมี 4 ฤดูครบ ไปไหนในกระเป๋าต้องมีร่มกันฝนด้วยกันแดดด้วย เสื้อกันหนาว ที่ถอดออกแล้วเสื้อตัวในใส่เดี่ยวๆ ได้เพราะในวันเดียวกันมีฝนตก อากาศเย็นยะเยือก สักพักเดียวก็แดดออกร้อน
อากาศที่เปลี่ยนกะทันหันเป็นต้นเหตุให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันทำให้เกิดภาวะไม่ปกติ เกิดอาการเจ็บป่วย เป็นไข้ ไม่สบายเนื้อตัว จากเย็นเป็นร้อนก็พอทน แต่ถ้าจากอากาศร้อนอยู่ดีๆ เปลี่ยนเป็นหนาว หรือฤดูฝนที่กำลังแปรเปลี่ยนเป็นฤดูหนาวที่คนโบราณบอกว่าเป็นปลายฝนต้นหนาวจะส่งผลให้ร่างกายเป็นไข้เปลี่ยนฤดูนั่นคือ เกิดสภาวะไม่สมดุลในร่างกาย ด้วยไออุ่นในร่างกายไม่สมดุลกับสภาพอากาศร่างกายจะต้านทานอากาศหนาวไม่ได้แล้วถ้าหนาวฉับพลันทันใดร่างกายทนทานไม่ได้ก็อาจถึงขึ้นเสียชีวิต เช่นตัวอย่างที่พบบ่อยๆ จากคนในชนบท
แพทย์แผนไทยมีตำราว่าด้วยการป้องกันภัยจากลมหนาวแนะนำให้ดูแลบตัวเองให้ร่างกายอบอุ่น กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และหมั่นสังเกตความผิดปกติในร่างกายเช่น ผิวหนังภายนอกแห้งแตก หนังหลุดลอกเป็นชั้นๆ รู้สึกคันตามเนื้อตัว ภายในปากเหมือนปากแห้ง ริมฝีปากแตก มีอาการคัดจมูก แน่นหน้าอก เจ็บคอ มีเสมหะตอนเช้า บางทีก็ท้องเสีย เวียนหัวแต่ไม่มีไข้ อาการที่ดูเหมือนผิดปกติเพียงนิดหน่อยแต่เป็นสัญญาณที่ร่างกายส่งเตือนแล้วว่านี่คืออาการของไข้เปลี่ยนฤดูที่มากับลมหนาว
การดูแลร่างกายเมื่อรู้สึกว่าเกิดอาการต่างๆ ดังกล่าว ได้แก่ หาเครื่องนุ่งห่มที่อบอุ่นป้องกันไม่ให้กระทบความเย็นจนเกินไป เวลานอนต้องสวมเสื้อผ้าหนาขึ้น ห่มผ้า ถ้าผิงไฟป้องกันความหนาว ทำมากเกินไปก็ไม่ดี ต้องค่อยๆ ไล่ให้ความอุ่นเข้ามาอย่างช้าๆ เพราะถ้าหนาวแล้วมาร้อนทันที ร่างกายก็ปรับตัวไม่ทันเหมือนกัน ส่วนอาหารการกินช่วยให้อิ่มแล้วยังสามารถเป็นยาได้ด้วย คนโบราณให้กินข้าวเหมือนเป็นยาป้องกันไว้ก่อนจะได้ไม่ต้องกินยาจริง อาหารสู้ลมหนาวเป็นพืชผักสมุนไพรที่เกิดและเติบโตในฤดูกาลนั้น โดยฤดูหนาวในเมืองไทยอยู่ระหว่างเดือนตุลาคม - มกราคม ช่วงนี้คนจะเจ็บป่วยบ่อยจากธาตุน้ำกำเริบ อาการแรกคือผิวแห้ง คันตามผิวหนัง มึนศีรษะ มีน้ำมูลไหล รู้สึกขัดยอกเนื้อตัว ขยับร่างกายไม่สะดวก ท้องอืด ควรเลือกกินอาหารบำรุงธาตุน้ำที่มีรสขมร้อน รสร้อน รสเปรี้ยว เผ็ดเล็กน้อย และงดเว้นอาหารที่มันจัด เช่น แกงส้มดอกแค ต้มย้ำ ต้มโคล้ง มีรสเผ็ดผสมเปรี้ยว น้ำขิง น้ำมะนาว น้ำส้ม เหยาะเกลือเล็กน้อย


โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 3 พ.ย. 2553 : 09:16:20  

ความเห็นที่ 1


คนจีนก็มีศาสตร์การกินป้องกันอากาศหนาวเย็น เขาหนาวกว่าเรามาก และก็มีอาหาร "หยาง" ที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายมากกว่าบ้านเรา มีสูตรแพะตุ๋นยาจีน หรือต้มแกง ข้าวต้ม โจ๊ก ที่ใส่ขิงและพริกไทยมากขึ้น ซึ่งในอาหารไทยหลายชนิดมีพริกไทยเป็นส่วนผสมอยู่แล้ว การปรุงแต่งรสให้เปรี้ยวและเผ็ดร้อนขึ้นเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของอาหารไทยที่รู้จักกินตามฤดูกาลเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผักนั้นเนื่องจากฤดูหนาวเป็นช่วงต่อเนื่องจากฤดูฝนหน้าหนาวบ้านเราจึงอุดมด้วยผักและเห็ดนานาชนิด และผักที่ควรเลือกกินตอนหนาวๆ นี้ได้แก่ ยอดส้มมะขาม ยอดมะม่วง กระเจี๊ยบแดง ดอกแค เห็ดชนิดต่างๆ ทำแกงส้ม แกงเลียง แกงป่า ในชาติตะวันตกบอกว่า ต้องกินไขมันมากขึ้นเพราะช่วยสู้อากาศหนาวเย็น แต่ตำรับแพทย์ไทยบอกว่าจะไปขัดกับสมุฎฐานโรคเสมหะ หมายถึงยิ่งกินมันมากจะยิ่งเพิ่มเสมหะให้กำเริบขึ้น
แพทย์แผนจีนบอกอีกว่า โรคหวัดที่เป็นจากร่างกายปรับตัวไม่ทันยังแบ่งเป็นหวัดร้อนกับหวัดเย็น อาการไม่เหมือนกัน หวัดเย็นมีอาการกลัวหนาว น้ำมูกใส สะบัดร้อนสะบัดหนาว แก้ได้ด้วยดื่มน้ำขิงอุ่นๆ หรือปรุงอาหารใส่ขิงพริกไทยและพริก ช่วยเพิ่มพลังหยาง กินข้าวต้มใส่พริกไทยเยอะๆ แกงจืดใส่พริกไทย สาหร่ายดำ ถ้าเป็นหวัดร้อนจะมีอาการเจ็บคอ มีไข้ต่ำๆ กินน้ำเก๊กฮวยกับใบหม่อน หรือชาฟ้าทะลายโจร เพื่อเสริมความอุ่นของร่างกายเป็นการเพิ่มพลังหยางให้รูขุมขนเปิดเพื่อระบายพิษทางเหงื่อ


โดย oOfonOo [ 3 พ.ย. 2553 : 09:20:21 ]

ความเห็นที่ 2


ถ้าคัดจมูกมากๆ ไม่ต้องไปใช้ยาหยอดจมูกราคาแพงๆ หรอก ใช้กระเทียมของเรานี่แหละ ล้างให้สะอาดตำให้แหลกเหยาะน้ำต้มสุกนิดหน่อย บีบเอาน้ำหยอดเข้าไปในจมูก ช่วยให้หายคัดจมูก แต่ถ้าเป็นหวัดร้อนโดยมีอาการเจ็บคอมีไข้ต่ำๆ ให้ต้มเก๊กฮวยกับใบหม่อนดื่มหรือกินฟ้าทลายโจร
อาหารที่มีขายทั่วไปตามท้องตลอด ที่ดูแล้วเกิดตามฤดูกาลกินได้ทั้งนั้น ไม่ต้องกินของแปลกหายาก ตำรับจีน และไทยมีอาหารแก้หนาว กินแล้วอบอุ่น หาได้ทั่วไปทั้งต้ม ผัดแกงตุ๋น กินให้ร้อนให้อุ่นท้อง เหงื่อออกสักหน่อย อาการเวียนหัวจะหายไป คือการปรับสมดุลด้วยอาหารนั่นเอง


โดย oOfonOo [ 3 พ.ย. 2553 : 09:22:00 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป