"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
“กล้ามเนื้ออ่อนแรง” ลางร้ายของระบบประสาท

คนไข้รายหนึ่งมาพบหมอเพราะมือไม่มีแรง จับปากกาไม่ติดจนเซ็นชื่อไม่ผ่าน ส่วนอีกรายมีอาการเดินกะเพลกเหมือนคนเท้าแพลงแต่กลับไม่รู้สึกเจ็บ เชื่อหรือไม่ว่า คนไข้ทั้งสองรายนี้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน

คนไข้รายแรกเป็นนักธุรกิจ ต้องทำงานใกล้ชิดกับเอกสารและการเงิน วันหนึ่งมาพบหมอเพราะมีปัญหาเซ็นเช็คไม่ผ่าน หมอให้คนใข้ลองเขียนตัวหนังสือให้ดู จึงสังเกตเห้นมือของคนไข้จับปากกาได้ไม่แน่นทั้งที่เป็นมือข้างที่ถนัด สันนิฐานเบื้องต้นว่า คนไข้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณมือ แต่เนื่องจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอาการบ่งชี้ของโรคได้ยาก จึงขออธิบายให้เข้าใจสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงกันก่อน

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีสาเหตุมาจากโรค 2 กลุ่มหลักดังนี้ กลุ่มแรกเป็นโรคทางอายุรกรรม ได้แก่ โรค Amyotrophic Laterral Sclerosis (ALS) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทไม่สามารถสั่งงานให้กล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ ทั้งๆ ที่ยังแข็งแรงอยู่โรคนี้พบมากในผู้หญิงไม่จำกัดอายุ อีกโรคคือ โรค Myasthenais Gravis (MG) เป็นโรคที่ระบบประสาทปกติ แต่กล้ามเนื้อกลับไม่สามารถทำงานได้ ทำให้มีอาการหนังตาตก ห้อย จากสถิติพบมากในผู้หญิงอายุ 25 – 35 ปี ทั้งสองโรคนี้ วงการแพทย์ยังไม่สรุปสาเหตุการเกิดโรคได้อย่างชัดเจนและยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทำได้เพียงกินยาเพื่อไม่ให้อาการทรุดหนักกว่าเดิมเท่านั้น และยังพบว่า หากในครอบครัวมีประวัติการป่วยโรคดังกล่าว ผู้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็มีโอกาศป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

กลุ่มที่สองเกิดจากโรคทางศัลยกรรม เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่มีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น อุบัติเหตุ อายุ หรือ น้ำหนักตัวที่มากขึ้น การนั่งเป็นเวลานานๆ ความเครียด และการไม่ออกกำลังกาย ล้วนเป็นสาเหตุทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาทหรือแตก จึงเกิดภาวะผิดปกติของระบบประสาทส่งผลให้การสั่งการไปยังกล้ามเนื้อขัดข้อง ซึ่งวินิฉัยได้ด้วยการเอกซเรย์กระดูกสันหลังหรือต้นคอตามดุลยพินิจของหมอ ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าการรู้สาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเบื้องต้นจะนำไปสู่การรักษาได้อย่งตรงจุด

ดังที่กล่าวมาว่า อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอาการที่บ่งโรคได้มากมาย ดังนั้นการถามประวัติคนไข้จึงมีความสำคัญในการวินิฉัยเบื้องต้น หลังจากซักประวัติการป่วยเป็นโรค ALS หรือ MG หมอจึงให้คนไข้เอกซเรย์บริเวณต้นคอ

ผลสรุปว่า คนไข้มีอาการหมอนรองกระดูกคอแตกทับเส้นประสาทจากอุบัติเหตุ จึงแนะนำให้คนไข้ผ่าตัดผ่านกล้อง Microscope เพราะแผลเล็กและใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน หลังจากคนไข้ได้รับการตรวจเพื่อเตรียมพร้อมก่อนผ่าตัดแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงเข้ารับการผ่าตัดและกลับบ้านได้ในสองวันถัดมา เมื่อคนไข้ผ่าตัดและพักฟื้นจนหายดี มือก็กลับมามีแรง สามารถหยิบจับของได้ตามปกติ



โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 8 ต.ค. 2553 : 11:38:22  

ความเห็นที่ 1
ส่วนคนไข้รายที่สองเป็นนักประมูลงานรับเหมาก่อสร้าง มีอาการเดินกะเผลก แขนขาอ่อนรงและเกร็งมานานกว่าสามปี เดิมทีคนไข้รักษาด้วยการกินยาและนวดจับเส้น แต่ก็ช่วยให้อาการดีขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ครั้งนี้คนไข้จึงเลือกมาพบหมอ แม้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของคนไข้รายนี้จะเกิดกับอวัยวะที่ต่างจากคนไข้รายแรก แต่หลังจากซักประวัติแล้วกลับพบว่าคนในครอบครัวไม่เคยป่วยเป็นด้วยโรค ALS หรือ MG เช่นกัน

หมอจึงให้คนไข้เอกซเรย์ ก็พบว่ากระดูกคอของคนไข้กดทับไขสันหลังอย่างมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเสื่อมของกระดูก ส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หมอได้แนะนำให้คนไข้ผ่าตัดผ่านกล้องเช่นเดียวกับคนไข้รายแรก แต่เนื่องจากอาการที่เป็นมานานกว่า คนไข้จึงต้องเข้ารับการกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดและจำเป็นต้องมาพบหมออย่างต่อเนื่อง แม้จะกลับไปทำงานได้ตามปกติแล้วก็ตาม

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเล็กๆน้อยๆ อาจเป็นสาเหตุลางบอกโรคร้ายที่คุณคาดไม่ถึง จึงไม่ควรละเลย เมื่อมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรคตั้งแต่เนิ่นๆ


โดย oOfonOo [ 8 ต.ค. 2553 : 11:38:30 ]

Member
205 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป