"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
4 เหตุผล “ทำไม? องค์กรควรใส่ใจสุขภาพการเงินพนักงาน”

เมื่อพูดถึงความเป็นอยู่ที่ดี การมีสุขภาพที่ดี เรามักจะนึกถึงเรื่องการออกกำลังกาย และการได้รับสารอาหารต่าง ๆ ที่ครับถ้วนใช่ไหมล่ะครับ พูดง่าย ๆ ก็คือเราทุกคนรู้ดีว่าการทานอาหารที่ดีและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่พอเอาเข้าจริงเรากลับทำมันได้ยากเหลือเกิน ยิ่งเป็นเวลาที่กำลังคร่ำเครียดกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ด้วยแล้วยิ่งไม่ง่ายเลยที่จะทำสองอย่างนี้ให้สำเร็จได้

พอจะเริ่มเข้าใจแล้วใช่ไหมครับ ว่าจริง ๆ แล้วความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีนั้น มีความเกี่ยวข้องกับ “สุขภาพทางการเงิน” อยู่

และนี่จึงเป็นที่มาของ 4 เหตุผลว่า ทำไม? องค์กรถึงควรใส่ใจสุขภาพทางการเงินของพนักงาน admin จะมาบอกเล่าให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันในบทความนี้ครับ

โดยคุณ : Admin เมื่อ 25 สิงหาคม 2021 : 15:0:15  

ความเห็นที่ 1

1. เพราะเรื่องเงินคือตัวการหลักที่ก่อให้เกิดความเครียด (Finances are a major stressor)
เรื่องงานไม่ใช่เรื่องเดียวที่ทำให้พนักงานของเราเครียด แต่เรื่องเงินนี่ล่ะ ที่สามารถนำความกังวลมาได้ไม่แพ้กัน ในปี 2015 จากการสำรวจคนวัยทำงานในสหรัฐ 45% บอกว่าการจัดการเรื่องการเงินเป็นอะไรที่ก่อให้เกิดความเครียด

สำหรับบางคน เรื่องเงินอาจถึงขั้นเป็นเหตุให้เกิดความเครียดอย่างต่อเนื่อง จากรายงานในปี 2015 โดย American Psychological Assocaition (APA) พบว่า 72% ของคนวัยทำงานรู้สึกเครียดกับเรื่องเงินบ้างเป็นบางเวลา และ 22% เจอกับความเครียดทางการเงินอย่างมาก เมื่อความเครียดอยู่ในระดับที่รุนแรง ย่อมส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วนถึงกับบอกว่า พวกเขาเคยคิดจะไม่ไปหาหมอเวลาป่วย เพราะกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายด้วยซ้ำ

และจากรายงานเดียวกันนี้ APA พบอีกว่า คนที่มีรายได้ต่ำและมีความเครียดทางการเงินที่รุนแรงนั้น มักจะทำกิจกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเพื่อจัดการกับความเครียดที่มี เช่น นั่งดูโทรทัศน์เป็นชั่วโมง ๆ พร้อมนั่งกินไอศกรีมและดื่นน้ำอัดลมไปด้วยในปริมาณที่อาจมากเกินพอดี เพื่อน ๆ อย่าทำตามกันนะครับ แนะนำให้พยายามหันไปออกกำลังกายดีกว่า นอกจากจะหลั่งสารฮอโมนดี ๆ ออกมาช่วยลดความเครียดแล้ว ยังทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วยนะ

เราทุกคนรู้ว่า ความเครียดสะสมจะส่งกระทบต่อสุขภาพ แต่ความเครียดทางการเงินทำให้ผลกระทบนั้น ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น คนเรามักหลีกเลี่ยงการลงทุนเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อเก็บเงินก้อนนั้นไว้ทำอย่างอื่นแทน ซึ่งสุดท้ายพออายุมากขึ้น เราก็นำเงินก้อนนั้นที่เก็บไว้มารักษาสุขภาพอยู่ดี ฉะนั้น ลงทุนและทำให้สุขภาพเราแข็งแรงตั้งแต่วันนี้เลยดีกว่าแน่นอนครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.moneyclass.co

โดย Admin [ 25 สิงหาคม 2021 : 15:5:31 ]

ความเห็นที่ 2
2. การจัดการเรื่องเงินต้องใช้เวลา (Managing finances takes time) การบริหารจัดการเงินนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเครียดเพียงอย่างเดียวแต่ยังใช้เวลามากพอสมควรอีกด้วย ถ้าไม่มีการดูแลสุขภาพทางการเงินของพนักงาน ความกังวลอาจเกิดขึ้นในที่ทำงาน ซึ่งในความเป็นจริง จากการสำรวจโดย PwC พบว่า ประมาณ 37% ในเวลาทำงาน พวกเขาใช้เวลาอย่างน้อยสามชั่วโมงต่อสัปดาห์เลย ในการคิดและวางแผนเกี่ยวเรื่องการเงินของพวกเขา

พนักงานบางคนถึงกับขาดงานเพราะปัญหาทางการเงิน จากการสำรวจพนักงานฝ่ายบุคคล (HR) ของ SHRM ในเดือนมิถุยายน ปี 2014 พบว่า 37% ของพนักงานของพวกเขาต้องขาดงานเพราะปัญหาทางการเงินที่รุนแรง และจากการศึกษา เผยแพร่โดย Rand ในปี 2015 พบว่า การขาดการนอนหลับอย่างเพียงพอ การขาดการวางแผนทางการเงิน และการขาดการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว ต่างส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานทั้งสิ้น

ความเครียดทำให้ไม่มีสมาธิ และเมื่อพนักงานของเราเริ่มกังวลเรื่องสุขภาพทางการเงิน พวกเขาจะเสียสมาธิในการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานจะลดลง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.moneyclass.co

โดย Admin [ 25 สิงหาคม 2021 : 15:8:33 ]

ความเห็นที่ 3

3. พนักงานของเราต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุน (Employees want support)
พนักงานต่างรู้สึกว่าความเครียดนี้เป็นภาระ และอยากให้นายจ้างของพวกเขาช่วยเหลือและสนับสนุนสุขภาพทางการเงิน แม้ว่าจากการศึกษาของ SHRM จะพบว่า 81% ของพนังงานฝ่ายบุคคล (HR) กล่าวว่า พวกเขาได้จัดแผนการเกษียณไว้ให้พนักงานแล้ว แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการติดตามดูแลและให้ความรู้ทางการเงินที่ถูกต้องแก่พนักงานในบริษัทของพวกเขา

ในการสำรวจเหล่าพนักงานในปี 2015 โดย Quantum Workplace and my company, Limeade พบว่า กว่า 40% ของพนักงานที่อายุต่ำกว่า 25 ปี บอกว่า พวกเขาต้องการให้นายจ้างจัดหาสวัสดิการเหล่านี้ให้คือ มีทั้งการวางแผนเกษียณ การติดตามผล และการให้ความรู้ทางการเงิน พนักงานที่รู้สึกเครียดจากปัญหาทางการเงินกำลังต้องการความช่วยเหลือ เพื่อจะรักษาและทำให้สุขภาพทางการเงินของพวกเขาดีขึ้น

เพราะปัญหาเรื่องเงิน บางครั้งตัวพนักงานแม้จะพอหาความรู้เองได้ แต่อาจไม่รู้จะแก้ไขอย่างไรดี ดังนั้น หากองค์กรของเรามีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมาให้ความรู้ จัดเวิร์คชอป เพื่อให้ได้ลองลงมือทำดู คงจะดีต่อพนักงานของเราไม่น้อยเลยจริงไหมล่ะครับ

4. สุขภาพทางการเงินที่ดีช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมในองค์กร (Financial wellness improves engagement) จากการศึกษา 71% ของพนักงานบอกว่า พวกเขาต้องการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่มีนายจ้างเพียง 31% เท่านั้นที่จัดหาสวัสดิการด้านการเงินให้กับพวกเขา แม้ว่าโลกจะหมุนไปตามกลไลการตลาด แต่นายจ้างก็ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของพนักงานตามความเป็นจริง โดยเฉพาะผู้ที่มีเงินเดือนไม่มาก เพื่อให้เราในฐานะองค์กรสามารถวางแผน การจัดสวัสดิการหรือให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ต่อไปได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น

การปรับค่าครองชีพเป็นเหตุของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูงที่ขึ้นเพราะเงินเฟ้อ มันอาจลดความเครียดและเพิ่มสมาธิในการทำงานได้ เมื่อนายจ้างปรับเงินเดือนให้ตามเงินเฟ้อนี้ ทำให้รายรับของพนักงานเราไม่ลดลงไปจากเดิม การปรับเงินเดือนตามเงินเฟ้อนั้น จะทำให้การมีส่วนร่วมของพนักงานจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15%

การจัดหาสวัสดิการด้านการเงินให้ยังเป็นการแสดงให้พนักงานเห็นว่า องค์กรใส่ใจพวกเขา ทั้งยังส่งเสริมความรักต่อองค์กรและเพิ่มแรงผลักดันในการทำงานอีกด้วย เมื่อพนักงานรู้สึกว่านายจ้างใส่ใจเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ พวกเขาจะมีส่วนร่วมกับองค์กรมากขึ้นถึง 38%

การลงทุนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพทางการเงินนั้นจะส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็น ทำให้สุขภาพดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มการมีส่วนร่วมในองค์กรอีกด้วย ฉะนั้นเราจะรออะไรกันอยู่ล่ะ มาพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อม ๆ กับองค์กรกันเถอะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.moneyclass.co

โดย Admin [ 25 สิงหาคม 2021 : 15:10:51 ]

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป