
เนื่องในโอกาสครบรอบ 87ปี "แม่โดม"ของเราวันนี้ เข้าสูวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานเลยทีเดียว จากรุ่นพ่อรุ่นแม่ สู่รุ่นลูก รุ่นหลาน เปรียบได้ว่าเป็น "ย่าโดม" ของหลานๆได้ภูมิใจค่ะ
ในหลายๆครอบครัว ที่ลูกหลานจะได้มานั่งฟังเรื่องราว ความทรงจำ ในอดีต ที่สะสมมาแล้ว 87 ปี วันนี้แอดมิน ขอชวนทุกคน มาชื่นชม ภาพจำ ของ "ย่าโดม" ของครอบครัวธรรมศาสตร์ของเรา โดยภาพต่อไปนี้เป็นภาพจาก หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวม และจัดเก็บเอกสาร สิ่งพิมพ์ วัสดุ และสิ่งของที่มีคุณค่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนๆ จะได้เห็นเอกสารสำคัญๆ อย่างจดหมาย ลายมือบุคคลสำคัญ รวมไปจนถึงภาพบรรยากาศเหตุการณ์ต่างๆ ในสมัยอดีตที่เกิดขึ้นในมหาลัย ไปชมภาพพร้อมอ่านเรื่องราวกันเลยค่ะ…
“มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา”
นี่คือคำกล่าวของผู้ประศาสน์การ ม.ธรรมศาาสตร์ ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์ ในโอกาสการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477
แรกเริ่มมีชื่อว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” (มธก.) โดยใช้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “University of Moral and Political Sciences” ด้วยความตั้งใจให้โอกาสแก่สามัญชนในการศึกษา “วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ในด้านกฎหมายการเมืองการปกครองเพื่อมารับใช้ประเทศชาติ ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงเลือกวันที่ 27 มิถุนายนเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยโดยเหตุว่า วันที่ 27 มิถุนายน 2475 เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย
ต่อมา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลทางการเมือง และการ ปกครอง ของคณะรัฐประหาร ทำให้ มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบ และถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัย การเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า”การเมือง” ออก เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477
สำหรับที่ตั้งมหาวิทยาลัย ครั้งแรกใช้ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิมที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2478 มหาวิทยาลัยขอซื้อที่ดินบริเวณ ท่าพระจันทร์ ซึ่งเดิมเป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิมพร้อมทั้งสร้างตึกโดม อันหมายถึงปัญญา และความเฉียบแหลม ต่อมาในปี พ.ศ.2518 ในยุคที่ ศ. ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี ได้มองเห็นว่าควรที่จะขยายการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ในชั้นปริญญาตรีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มีส่วนสำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมเช่นเดียวกับหลักสูตรทางสังคมศาสตร์ที่มีอยู่เดิม พื้นที่ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ไม่เพียงพอ จึงขยายออกไปที่รังสิต เรียกว่า มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตดังที่รู้จักกันในทุกวันนี้
โดยคุณ : แอดมิน เมื่อ 1 กรกฎาคม 2021 : 17:14:12