"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
กัญชา รวมเรื่องน่ารู้ และสรรพคุณทางการแพทย์ ที่รู้แล้วต้องอึ้ง

กัญชา เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีทั้งประโยชน์และโทษอยู่ในตัว ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้มีการแก้กฎหมายใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้นำกัญชาไปศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และนำไปใช้รักษาโรคภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ได้

กัญชาคืออะไร?
กัญชา (Marijuana) เป็นพืชในตระกูล Cannabis ที่สามารถจำแนกออกมาได้อีก 3 ชนิด ได้แก่

1.Cannabis Indica มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย สูงไม่เกิน 2 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มีลักษณะสั้นและกว้าง เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น หรือการปลูกในร่ม นิยมปลูกเพื่อนำดอกมาใช้สารในกัญชาสกัดเป็นน้ำมันทางด้านการแพทย์และนำมาใช้เพื่อการผ่อนคลาย

2.Cannabis Sativa ลำต้นใหญ่ หนา และแข็งแรง อาจสูงได้มากถึง 6 เมตร ใบมีลักษณะเรียวยาว สีเขียวอ่อน เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน นิยมปลูกเพื่อเอาใยมาใช้ทางด้านอุตสาหกรรมและนำเมล็ดมาสกัดสารในกัญชาเป็นน้ำมัน

3.Cannabis Ruderalis ต้นเล็กคล้ายวัชพืช ใบมีลักษณะกว้างและเล็กผสมกัน เติบโตได้ดีทั้งในอากาศร้อนและเย็น พบได้มากในทวีปยุโรป

สรรพคุณทางการแพทย์ของกัญชา
กัญชามีประโยชน์ในทางการแพทย์มากมาย เนื่องจากปัจจุบันมีการยอมรับให้นำสารในกัญชามาศึกษาวิจัยเพื่อรักษาอาการป่วยรูปแบบต่างๆ มากมาย ส่วนประโยชน์ต่อร่างกายและสมองที่มีแนวโน้มจะเป็นไปได้ มีดังนี้

บรรเทาอาการวิตกกังวล (Antianxiety effect) สารในกัญชาสกัดกลุ่ม แคนนาบินอล (Cannabidoid) สามารถช่วยลดอาการวิตกกังวลและช่วยให้มีความสุขในช่วงสั้นๆ ได้

แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวยังคงความเสี่ยงที่อาการวิตกกังวลจะกำเริบ และกลายไปเป็นโรคซึมเศร้าหรืออารมณ์แมเนียกำเริบ (Mania) ปัจจุบันนี้การออกฤทธิ์ของสารในกัญชายังคงมีความซับซ้อนและกำลังอยู่ในช่วงวิจัยทดลอง

ลดความเสี่ยงสมองฝ่อ (Neurodegeneration) มีการวิจัยต่อเนื่องในประเทศอังกฤษโดยใช้สารในกัญชากลุ่ม Acid cannabinoids และ Endocannabioids

พบว่ามีแนวโน้มที่จะรักษาอาการทางสมองบางประเภทได้ เช่น โรคพากินสัน (Parkinson disease) โรคฮันติงตัน (Huntington disease)

แต่อย่างไรก็ตาม โรคและอาการทางระบบประสาทที่กล่าวมานี้ ก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่มากเพียงพอต่อการรักษา อีกทั้งยังมีโอกาสก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองตามมาอีกด้วย ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบทางคลินิก

รักษาต้อหินที่ดวงตา (Glaucoma) มีการศึกษาทดลองพบว่าสารสกัด THC ซึ่งเป็นสารในกัญชา ถูกนำมาใช้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะยาหยอด การกิน การดมกลิ่น พบว่าสามารถลดความดันลูกตาซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต้อหินได้ 3-5 มิลลิลิตรปรอท

แต่ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้เพียง 2-4 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสมอง เช่น ง่วงซึม อารมณ์แปรปรวน และหากรับยาผ่านการดมกลิ่น ก็อาจส่งผลกระทบกับปอดได้

ฉะนั้นจึงถือได้ว่าการใช้สารในกัญชาที่สกัดเพื่อรักษาต้อหินนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ และกำลังอยู่ในระหว่างวิจัยพัฒนา
บรรเทาอาการหอบหืด สารในกัญชามีผลทำให้หลอดลมขยายหรือลดการหดตัวได้ ฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะใช้กัญชาในการควบคุมและบรรเทาอาการหอบหืด แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ สารในกัญชาบางชนิด เช่น CBD สามารถช่วยลดอาการปวดเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุก โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื่องจากสารอนุพันธ์ของ THC ได้แก่ Nabilone และ Dronabinol สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัด

อีกทั้งยังช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น น้ำหนักตัวลดช้าลง นอกจากนี้ในการทดลองกับสัตว์พบว่าเชื้อมะเร็งมีขนาดเล็กลงจากสารในกัญชากลุ่มอนุพันธ์บางชนิด

แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีสารอนุพันธ์กัญชาอีกบางชนิดที่ส่งผลเสียต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง เช่น Cannabidiol ทำให้เชื้อมะเร็งโตไวขึ้น จึงยังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม

ช่วยควบคุมอาการลมชักบางชนิด (Epilepsy) สารในกัญชาอนุพันธ์กลุ่ม CBD เป็นสารที่มักจะจับกับตัวรับระบบภูมิคุ้มกันและประสาทส่วนปลาย แต่ไม่มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้สามารถใช้ควบคุมอาการชักได้

โดยให้ CBD 200-300 มิลลิกรัม ร่วมกับยากันชัก สามารถระงับอาการผู้ป่วยที่เกิดอาการชักแบบควบคุมไม่ได้ แต่ข้อเสียคือมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก และต้องใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตาม สรรพคุณทางการแพทย์ของสารในกัญชานั้นยังต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าอีกมากมายเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง และต้องอยู่ในการกำกับดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรหามาลองใช้ด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากผลข้างเคียงได้

อันตรายจากการใช้กัญชาผิดวิธี
แม้สารในกัญชาจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หากนำมาใช้ผิดวิธี เช่น สอดไส้บุหรี่สูบ ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้มากมาย ดังนี้

เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด หลายคนมักนำไส้กัญชาแห้งมาม้วนผสมกับบุหรี่สูบเพื่อให้ผ่อนคลาย กลายเป็นสารในกัญชากลับไปเพิ่มสารพิษเข้าสู่ปอดมากกว่าเดิม อาจเปรียบได้ว่าการเสพกัญชามวนเพียง 4 มวน อาจเทียบเท่าการสูบบุหรี่ถึง 1 ซอง

เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า สารในกัญชาอาจทำให้อารมณ์ดีในระยะสั้นในช่วงที่เริ่มเสพ แต่เมื่อเสพไปนานๆ ในปริมาณมาก กลับมีผลวิจัยชี้ว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าและอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สารในกัญชามีผลทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของผู้ชายลดลง ส่งผลให้อสุจิเองก็มีปริมาณลดลงด้วย ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือมีความรู้สึกทางเพศลดลง

ระบบประสาทผิดปกติ หากใช้กัญชาในระยะเวลานาน หรือเสพกัญชาเป็นประจำ สารในกัญชาจะทำให้กระบวนการคิด การตัดสินใจ และความจำแย่ลง

โดยคุณ : sita เมื่อ 16 มกราคม 2020 : 14:43:26  

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป