"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
ไอมีเสมหะ ต้นเหตุบอกโรคอะไรได้บ้าง?
“ไอ” คืออาการที่สามารถเกิดขึ้นกับเราได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูไหนก็ตาม เพราะการไอเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ร่างกายพยายามขับสิ่งแปลกปลอมออกมาเพื่อไม่ให้เข้าสู่ปอด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรค ฝุ่น ควัน ฯลฯ นอกจากนี้ร่างกายคนเรายังมีการผลิตเสมหะเป็นปกติ เพราะของเหลวชนิดนี้มีส่วนช่วยจับช่วยแบคทีเรียที่กีดขวางทางเดินหายใจของเราและป้องกันเนื้อเยื่อบริเวณลำคอ จมูก ปอด ทางเดินหายใจไม่ให้แห้งจนเกินไปอีกด้วย แต่หากเสมหะมีการติดเชื้อขึ้นมาก็จะทำให้เรา “ไอแบบมีเสมหะ” นั่นเอง ซึ่งการไอแบบมีเสมหะหรือมีของเหลวลักษณะเมือกเหนียวออกมาด้วย แสดงให้เห็นว่าร่างกายของเรากำลังป่วยอยู่และมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับร่างกาย โดยการไอแบบมีเสมหะนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

ไอมีเสมหะแบบเฉียบพลัน : มีระยะเวลาการไอมีเสมหะน้อยกว่า 3 สัปดาห์
ไอมีเสมหะแบบเรื้อรัง : มีระยะเวลาการไอมีเสมหะนานเกิน 8 สัปดาห์


ซึ่งการไอแบบมีเสมหะนั้นเป็นต้นเหตุบอกโรคต่างๆ ให้กับเราได้ด้วย โดยมีวิธีสังเกตโรคต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ดังนี้

สังเกตจากสีของเสมหะ

เสมหะไม่มีสี : หากไอมีเสมหะแต่เสมหะที่ออกมาไม่มีสีหรือเป็นลักษณะเมือกใส แสดงว่าเกิดการติดเชื้อไวรัสบางชนิด สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคภูมิแพ้ ซึ่งถือว่าเป็นอาการที่พบบ่อยได้ทั่วไป สามารถซื้อยาละลายเสมหะรับประทานเองได้
เสมหะมีสีขาว : หากเสมหะมีสีขาว สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบ โรคกรดไหลย้อน บางรายอาจเป็นโรคเกี่ยวกับปอด ดังนั้นหากไอมีเสมหะนานเกิน 8 สัปดาห์ขึ้นไป หรือรับประทานยาละลายเสมหะแล้วไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด
เสมหะมีสีเหลืองปนเขียว : หากเสมหะมีสีเหลืองปนเขียว แสดงว่าร่างกายมีการติดเชื้อแบคทีเรีย สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคหลอดลมอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ โรคปอดบวม หรือโรคทางพันธุกรรม ดังนั้นนอกจากการรับประทานยาละลายเสมหะแล้วจำเป็นต้องพบแพทย์ด้วย
เสมหะมีสีชมพู : หากเสมหะมีสีชมพูหรือไอมีเสมหะแล้วมีเลือดปนออกมาด้วย เป็นสัญญาณบ่งบอกได้ว่ามีเลือดออกภายในร่างกาย จำเป็นต้องพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคฝีในปอด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด หรือวัณโรคได้
เสมหะสีน้ำตาล : หากเสมหะมีสีน้ำตาล แสดงว่ามีเลือดที่ค้างอยู่ในร่างกายปนอยู่กับเสมหะ นอกจากสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคเดียวกับเสมหะสีชมพูหรือแดงแล้ว อาจหมายถึงการป่วยเป็นโรคปอดบวม โรคฝุ่นจับปอด โรคหลอดลมอักเสบ มีพยาธิหรือฝีในปอดได้ด้วย
เสมหะมีสีดำ : หากเสมหะมีสีดำสันนิษฐานได้ว่าอาจป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด โรคปอดบวม โรคฝุ่นจับปอด มีพยาธิหรือฝีในปอด


สังเกตจากลักษณะการไอมีเสมหะ

ไอมีเสมหะและคันคอ : สันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบหรือโรคภูมิแพ้ สามารถซื้อยาละลายเสมหะรับประทานเองได้
ไอมีเสมหะและมีน้ำมูก : สันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคไข้หวัด อาจเป็นเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถซื้อยาละลายเสมหะและยาแก้หวัดรับประทานเองได้ แต่หากมีน้ำมูกไหลจำนวนมาก ปวดโพรงจมูก ปวดโหนกแก้ม เสมหะมีสีเขียวหรือเหลือง สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคไซนัสอักเสบ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ไอมีเสมหะปนเลือด : สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคฝีในปอด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด หรือวัณโรค จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ไอมีเสมหะและมีไข้ : สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน แต่หากมีอาการหายใจถี่ ไข้สูง เสมหะมีสีเหลืองปนเขียวร่วมด้วย สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ไอมีเสมหะและแน่นหน้าอก : หากมีเสมหะจำนวนมาร่วมด้วย สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคหืด โรคถุงลมโป่งพอง หรือติดเชื้อรา จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ไอมีเสมหะและแสบร้อนกลางอก : สันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากมีกรดไหลย้อนขึ้นมากระตุ้นเสมหะในลำคอ หากปล่อยไว้จะทำให้เยื่อบุลำคออักเสบ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ไอมีเสมหะเรื้อรังและเจ็บคออย่างหนัก : สันนิษฐานได้ว่ามีแผลในลำคอ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ได้รับมลภาวะทางอาการ สูดสารพิษเข้าไปจนสะสมในร่างกายจำนวนมาก ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย วัณโรค ฯลฯ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ไอมีเสมหะและแน่นหน้าอก : หากมีเสมหะจำนวนมาร่วมด้วย สันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคหืด จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
วิธีดูแลรักษาเมื่อเกิดการไอมีเสมหะ



รับประทานยาละลายเสมหะ
การรับประทานยาละลายเสมหะเป็นการรักษาเบื้องต้นที่ง่ายที่สุด เนื่องจากสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป เหมาะกับผู้ที่มีอาการไอมีเสมหะไม่รุนแรงมากนัก โดยยาละลายเสมหะสามารถบรรเทาอาการไออันเนื่องจากหลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะเรื้อรัง และอาการไอที่เกิดจากโพรงจมูกอักเสบได้ ซึ่งเราควรเลือกยาละลายเสมหะที่ปลอดภัย ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เช่น โซลแมค (Solmax) ที่มีทั้งชนิดน้ำสำหรับเด็กและชนิดแคปซูลสำหรับผู้ใหญ่
ดื่มน้ำสะอาด
การดื่มน้ำสะอาดและเป็นน้ำที่อยู่ในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 8 – 10 แก้วต่อวันมีส่วนช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียวได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกายได้ด้วย
ดื่มชาสมุนไพร
การดื่มชาสมุนไพรมีส่วนช่วยในการขับเสมหะ เช่น ขิง ที่มีรสชาติเผ็ดร้อน นอกจากช่วยขับเสมหะได้แล้วยังช่วยละลายเสมหะ ขับลม ขับเหงื่อได้ด้วย หากเราผสมน้ำผึ้งและมะนาวลงไปก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์มายิ่งขึ้น เพราะน้ำผึ้งมีส่วนช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ มะนาวมีส่วนผสมของวิตามินซี ยับยั้งแบคทีเรียได้ แถมทำให้ชุ่มคออีกด้วย
กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ
การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือมีส่วนช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงลดการอักเสบของแผลในลำคอได้ และเป็นการลดปริมาณเสมหะภายในคอได้อีกด้วย
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบางชนิด
อาหารบางชนิดมีผลทำให้เสมหะหายช้าและมีผลต่อการดูดซึมของยา ไม่ว่าจะเป็นนม ชีส เนย ของมัน ของทอด รวมไปถึงน้ำอัดลม กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นหากไอมีเสมหะอยู่ล่ะก็ ควรงดรับประทานอาหารพวกนี้ไปได้เลย
พบแพทย์เพื่อทำการรักษา
หากรับประทานยาละลายเสมหะแล้วอาการไม่ดีขึ้น รู้สึกว่ามีการไออย่างรุนแรง มีเลือดออก เจ็บหน้าอก นอนไม่หลับ หายใจดัง แน่นหน้าอกในระยะเวลานานเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป จำเป็นต้องการพบแพทย์เพื่อรักษา เพราะสามารถนำไปสู่การไอมีเสมหะแบบเรื้อรังได้ ซึ่งมักมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่ในการไอมีเสมหะในลักษณะดังกล่าวตามที่บอกไว้ตอนต้นนั่นเอง

โดยคุณ : ผีเสื้อสมุทร เมื่อ 15 มกราคม 2020 : 11:7:17  

Member
205 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป