"สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ." ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์" ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2559
เฟซบุ๊ค-ทวิตเตอร์ทำชีวิตคู่ระแวงถึงขั้นหย่าร้าง


นักวิชาการระบุโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์เป็นมหันตภัยร้ายทำลายสถาบันครอบครัว เพราะทำให้ห่างเหิน มองไม่เห็นคุณค่าคนที่อยู่ใกล้ชิด ไม่พูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาเมื่อมีปัญหา และทำให้เกิดความหวาดระแวงกันระหว่างสามีภรรยา เผยผลวิจัยในต่างประเทศพบเป็นต้นเหตุของการหย่าร้างสูงถึง 30% ซึ่งสิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นกับสังคมไทยโซเชียลเน็ตเวิร์คหรือสังคมออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊คกำลังสร้างปัญหาความแตกแยกในครอบครัวอย่างไม่คาดคิด

ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของ ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ระบุว่า โซเชียลเน็ตเวิร์คมีทั้งด้านดีและไม่ดี ด้านดีคือทำให้คนที่อยู่ไกลกันได้ติดต่อสื่อสารเสมือนว่าอยู่ใกล้กัน ส่วนด้านไม่ดีที่พบตอนนี้คือกำลังสร้างความร้าวฉานในครอบครัวคนไทยอย่างมาก

"โซเชียลเน็ตเวิร์คทำให้มองไม่เห็นคุณค่าและทอดทิ้งคนที่อยู่ใกล้ตัว แต่ไปให้คุณค่ากับคนที่อยู่ไกล ผู้คนจำนวนมากที่อยู่ในบ้านเดียวกันไม่ค่อยได้พูดคุยกัน แต่มีเวลาทักทายเพื่อนใหม่ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ ใช้เวลาอยู่หน้าจอนั่งโพสต์ข้อความตอบโต้กันไปมาเป็นเวลานานหลาย ชั่วโมง ขณะที่คนใกล้ชิดอยู่บ้านเดียวกันพูดกันไม่กี่คำก็ทะเลาะกันแล้ว คนสมัยนี้เวลาน้อยใจ เสียใจก็ไม่ยอมพูดกันตรงๆ จะระบายอารมณ์โดยการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ เป็นการพูดลอยๆ ไม่เอ่ยชื่อใคร คนที่เข้ามาอ่านอาจจะเป็นคู่กรณี เมื่ออ่านแล้วก็คิดไปเอง ส่วนคนที่โพสต์ข้อความก็โพสต์ไปตามอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง การสื่อสารจึงเป็นแบบต่างคนต่างเขียน ต่างคนต่างคิดกันไปเอง คิดเองตอบเอง ประกอบกับโซเชียลเน็ตเวิร์คจะมีคนที่สามที่สี่เขามาแสดงความเห็นด้วยจึงยิ่งทำให้มีปัญหามากขึ้น"

ดร.จิตรากล่าวว่า สามีภรรยาบางคู่ไม่ไว้ใจกันต้องมาแอบอ่านเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ของอีกฝ่าย อ่านแล้วก็คิดมาก ยิ่งอ่านยิ่งไม่ไว้ใจกัน หลายคู่ทะเลาะจนแยกกันอยู่หรือหย่าร้าง ในต่างประเทศมีงานวิจัยระบุว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ ผู้ใช้ไม่ว่าหญิงหรือชายมีโอกาสกลับไปติดต่อกับแฟนเก่า ซึ่งบางคนแค่พูดคุยสอบถามสารทุกข์สุขดิบ บางคนก็ติดต่อกันลับๆ เกิดปัญหาบานปลาย ท้ายที่สุดคู่สามีภรรยาก็หย่าร้างกันมากถึง 30% ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้กำลังจะเกิดขึ้นในสังคมไทย

ดร.จิตรากล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาคือต้องสร้างความสัมพันธ์แบบสดๆ คือการพูดคุยสื่อสารกันโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นคู่สามีภรรยาหรือคนในครอบครัว หันมาสนใจคนที่อยู่ใกล้ตัวมากกว่าคนที่อยู่ไกลตัว

"มีคนจำนวนมากมีความสุขที่ได้พูดคุยกับเพื่อนใหม่หรือแฟนเก่าทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค เพราะเป็นที่ที่เราสามารถสร้างความฝันหรือสร้างความรู้สึกที่ไม่ตรงกับความจริงขึ้นมาได้ แต่ต้องระวังเพราะเป็นที่สาธารณะที่ใครก็เข้ามาดูได้ การใช้คำพูดจึงต้องระมัด ระวัง และไม่ควรจะให้เฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์มีอิทธิพลกับชีวิตมากเกินไป ถ้ารู้สึกว่าหงุดหงิดที่ไม่ได้เข้าไปทักทายเพื่อนแสดงว่าคุณกำลังติดโซเชียลเน็ตเวิร์ค"

โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 7 ก.ย. 2554 : 09:02:57  

Member
204 ศิษย์เก่า และ 54 บุคคลทั่วไป