"โรคหืด" และ "วัณโรคปอด" เป็นโรคทางระบบหายใจที่พบได้บ่อยในปัจจุบันนอกเหนือจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โรคหืดและวัณโรคปอดมีความแตกต่างกันทั้งในแง่สาเหตุของการเกิดโรค อาการและอาการแสดง รวมถึงการรักษา ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นไปศึกษาพร้อมๆกันเลยครับ
โรคหืด (Asthma)
เป็นโรคไม่ติดต่อ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม และหลอดลมมีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ทำให้เกิดการอุดกั้นของหลอดลม เนื่องจากมีเซลล์อักเสบเข้ามาสะสม กล้ามเนื้อและเยื่อบุหลอด ลมหนาตัวขึ้น รวมถึงมีสารคัดหลั่งในหลอดลมเพิ่มขึ้น
กระบวนการต่างๆเหล่านี้ทำให้หลอดลมตีบแคบ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการโรคหืด โดยสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ส่วนใหญ่มักพบในวัยเด็กหรือวัยรุ่นมากกว่าวัยผู้ใหญ่
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
1.ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ภาวะอ้วน หรือเพศ
2.ปัจจัยภายนอก ได้ แก่ สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ การ ติดเชื้อโดยเฉพาะไวรัส การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศทั้งภายในและภายนอกบ้าน รวมถึงสารเคมีหรือชีวภาพในที่ทำงาน เป็นต้น
สัญญาณอันตราย
หากมีอาการหายใจลำบาก ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงดังหวีด อาการเหล่านี้มักเป็นพักๆ โดยเฉพาะหลังได้สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ การติดเชื้อในระบบการหายใจ หรือในบางช่วงของปี เช่น ฤดูฝน อากาศเย็น อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคหืดนอกจากอาศัยอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อซักประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย และตรวจสมรรถภาพปอดเพื่อยืน ยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่นๆที่อาจมีอาการหรืออาการแสดงคล้ายโรคหืดได้
ป้องกันและรักษาได้โดย
เป้าหมายของการรักษาคือ การควบคุมอาการป้องกันการกำเริบ ผู้ป่วยสามารถออก แรงทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปรกติ และให้สมรรถภาพปอดใกล้เคียงปรกติมากที่สุด โดยยาที่ใช้รักษามีทั้งชนิดสูดพ่นและชนิดรับประทาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ
1.กลุ่มยาควบคุม ใช้เพื่อควบคุมการอักเสบของหลอดลม ยาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่น เนื่อง จากมีฤทธิ์ลดการอักเสบได้ดี และออกฤทธิ์ที่หลอดลมโดยตรง นอกจากนี้ยังมียากลุ่มอื่นอีกหลายชนิด ซึ่งการใช้ยากลุ่มนี้จะต้องใช้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภายใต้การดูแลของแพทย์
2.กลุ่มยาบรรเทาอาการใช้เพื่อบรรเทาอาการโรคหืดเป็นครั้งคราวเมื่อมีอาการ เช่น เหนื่อยหรือหายใจดังหวีด ส่วนใหญ่เป็นยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น แนะนำให้ใช้เป็นยาสูดพ่น เนื่องจากออกฤทธิ์โดยตรงที่หลอดลมและออกฤทธิ์เร็ว ผลข้างเคียงทางระบบ เช่น มือสั่น ใจสั่น น้อยกว่ายารับประทาน
นอกจากรักษาด้วยการใช้ยาแล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้อาการโรคหืดเป็นมากขึ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้ ควันบุหรี่ ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการกำเริบของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามอาการและปรับยาให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน
โดยคุณ : oOfonOo เมื่อ 5 ส.ค. 2554 : 08:34:57